นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงการณ์กรณีการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งยังเป็นที่น่ากังวลว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ทันท่วงที โดยขณะนี้มี 56 จังหวัดได้รับผลกระทบ พื้นที่การเกษตรเสียหายร่วม 1.2 ล้านไร่ ถือเป็นความเสียหายใหญ่ ในฐานะพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองและเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล พรรคได้ให้การช่วยเหลือดูแลประชาชนเท่าที่ทำได้ เนื่องจากการช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีข้อจำกัด หลัง กกต. ออกระเบียบมา จึงเป็นอุปสรรคในการช่วยเหลือประชาชน
พรรคเพื่อไทยเห็นความสำคัญ เป็นห่วงและพร้อมทำงานเคียงคู่ประชาชน พร้อมเรียกร้องไปยังรัฐบาลและคนที่เกี่ยวข้องให้ทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้ถึงที่สุด โดยให้รัฐบาลถือว่าความเดือดร้อนของประชาชนครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เร่งด่วน จึงต้องบริหารสถานการณ์แบบภาวะวิกฤต ต้องระดมกำลังช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ทันท่วงที ต้องมีการมาตรช่วยเหลือเฉพาะหน้า และเยียวยา ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์มาแล้วในปี 2554 จึงได้กำหนดมาตรการดูแลประชาชน อย่างมีแบบแผน คือ 1.การเตือนภัย ครั้งนี้มีปัญหาการเตือนภัย ข้าวของเสียหายเพราะคาดการณ์ไม่ได้ถึงความรุนแรง 2.การบริหารจัดการทุกอย่างวางแผนในลักษณะสถานการณ์เลวร้ายสุด ต้องนำการบริหารสถานการณ์ในภาวะเสี่ยงสุดมาใช้ 3. วางระบบบริหารจัดการที่มีหน่วยปฏิบัติชัดเจน 4.ต้องไม่นำระเบียบเดียวมาบังคับใช้ทั่วประเทศ 5.ต้องให้อำนาจท้องถิ่นในการดูแลประชาชน จึงขอร้องไปถึงรัฐบาลให้รีบทำ และหากเพื่อไทยมีโอกาสในการเลือกตั้งครั้งหน้าก็จะทำ
ทั้งนี้ การช่วยเหลือประชาชนยังมีข้อจำกัดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หลังออกระเบียบ 180 วันก่อนเลือกตั้ง จึงขอเรียกร้องให้ กกต. พิจารณาปรับปรุงเรื่องระเบียบในเรื่องภัยพิบัติ ซึ่งพรรคเพื่อไทยจะเสนอให้แก้ พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ในเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและการหาเสียง โดยจะเสนอในที่ประชุมสภาในสมัยประชุมต่อไป
ส่วนการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า เป็นการตื่นตัวช้าตามปกติวิสัย ของ พล.อ.ประยุทธ์ ตนไม่คาดการณ์ว่าเร็วกว่านี้ แต่เรื่องอื่นเร็วโดยเฉพาะอารมณ์กับประชาชน แต่การแก้ปัญหาต้องไปไหว้พระพรหหมก่อนถึงจะแก้ปัญหาได้ นี่คือการทำงานของผู้นำประเทศที่เราเรียกว่านายกรัฐมนตรี
ด้านนางสาวธีรรัตน์ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลจัดสรรงบกลางมาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงเปิดรับฟังแนวทางการบริหารจัดการของพรรคเพื่อไทย สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม จัดทำผังการใช้ที่ดินและการใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทาน เพื่อกักเก็บน้ำหลากชั่วคราว ปรับปรุงลำน้ำสายหลัก จัดทำทางน้ำหลาก ทางผันน้ำให้ได้ไม่น้อนกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และไม่สร้างทางหลวงขวางทางน้ำ
พรรคเพื่อไทยเห็นความสำคัญ เป็นห่วงและพร้อมทำงานเคียงคู่ประชาชน พร้อมเรียกร้องไปยังรัฐบาลและคนที่เกี่ยวข้องให้ทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้ถึงที่สุด โดยให้รัฐบาลถือว่าความเดือดร้อนของประชาชนครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เร่งด่วน จึงต้องบริหารสถานการณ์แบบภาวะวิกฤต ต้องระดมกำลังช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ทันท่วงที ต้องมีการมาตรช่วยเหลือเฉพาะหน้า และเยียวยา ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์มาแล้วในปี 2554 จึงได้กำหนดมาตรการดูแลประชาชน อย่างมีแบบแผน คือ 1.การเตือนภัย ครั้งนี้มีปัญหาการเตือนภัย ข้าวของเสียหายเพราะคาดการณ์ไม่ได้ถึงความรุนแรง 2.การบริหารจัดการทุกอย่างวางแผนในลักษณะสถานการณ์เลวร้ายสุด ต้องนำการบริหารสถานการณ์ในภาวะเสี่ยงสุดมาใช้ 3. วางระบบบริหารจัดการที่มีหน่วยปฏิบัติชัดเจน 4.ต้องไม่นำระเบียบเดียวมาบังคับใช้ทั่วประเทศ 5.ต้องให้อำนาจท้องถิ่นในการดูแลประชาชน จึงขอร้องไปถึงรัฐบาลให้รีบทำ และหากเพื่อไทยมีโอกาสในการเลือกตั้งครั้งหน้าก็จะทำ
ทั้งนี้ การช่วยเหลือประชาชนยังมีข้อจำกัดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หลังออกระเบียบ 180 วันก่อนเลือกตั้ง จึงขอเรียกร้องให้ กกต. พิจารณาปรับปรุงเรื่องระเบียบในเรื่องภัยพิบัติ ซึ่งพรรคเพื่อไทยจะเสนอให้แก้ พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ในเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและการหาเสียง โดยจะเสนอในที่ประชุมสภาในสมัยประชุมต่อไป
ส่วนการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า เป็นการตื่นตัวช้าตามปกติวิสัย ของ พล.อ.ประยุทธ์ ตนไม่คาดการณ์ว่าเร็วกว่านี้ แต่เรื่องอื่นเร็วโดยเฉพาะอารมณ์กับประชาชน แต่การแก้ปัญหาต้องไปไหว้พระพรหหมก่อนถึงจะแก้ปัญหาได้ นี่คือการทำงานของผู้นำประเทศที่เราเรียกว่านายกรัฐมนตรี
ด้านนางสาวธีรรัตน์ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลจัดสรรงบกลางมาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงเปิดรับฟังแนวทางการบริหารจัดการของพรรคเพื่อไทย สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม จัดทำผังการใช้ที่ดินและการใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทาน เพื่อกักเก็บน้ำหลากชั่วคราว ปรับปรุงลำน้ำสายหลัก จัดทำทางน้ำหลาก ทางผันน้ำให้ได้ไม่น้อนกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และไม่สร้างทางหลวงขวางทางน้ำ