xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระวัฒน์”เผยข้อสังเกตของการใช้แอนตี้บอดี้รักษาหรือป้องกันโควิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ข้อสังเกตของการใช้แอนตี้บอดี้ในการรักษาหรือป้องกันโควิด

ข้อมูลการศึกษาโอไมครอนสายย่อย พบว่า BA.2.75.2 หนีจาก อีวูเชล Evusheld (แอนตี้บอดี้ที่มี ฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าแอนตี้บอดี้ธรรมดา)

และนอกจากนั้นในสาย BA.5 ที่มีการพัฒนาการไปเรื่อยๆ มีแนวโน้มที่ต้าน Evusheld ได้และจะทำให้ไม่ได้ผล

ดังนั้นการใช้แอนติบอดีในการรักษาหรือป้องกัน จะใช้ได้เฉพาะกับไวรัสเป็นตัวๆดังกล่าวเท่านั้น และเมื่อไวรัสมีการผันตัวออกไปก็จะหมดประสิทธิภาพไปทันที

และเป็นเครื่องยืนยันจากคณะผู้วิจัยว่า ภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดโดยธรรมชาติก็ดี หรือที่ได้จากวัคซีนที่มีการพัฒนาใหม่จากไวรัส BA.5 ก็ตาม น่าจะไม่สามารถหยุดการที่ไวรัสวิ่งหนีออกไป โดยการพัฒนาตัวเองของไวรัส โดยเฉพาะที่ตำแหน่ง RBD receptor binding site

จากProMed
OMICRON sublineage BA.2.75.2 [bioRxiv]

The author characterise the sensitivity of emerging omicron sublineages BA.2.75.2, BA.4.6, and BA.2.10.4 to antibody-mediated neutralisation.

BA.2.75.2 was resistant to neutralisation by Evusheld (tixagevimab + cilgavimab), but remained sensitive to bebtelovimab.

BA.2.75.2 was neutralised, on average, 5-fold less potently than BA.5, representing the most neutralisation resistant variant evaluated to date.

Moreover, we demonstrated that as few as 5 additional convergent mutations based on BA.5 or BA.2.75 could completely evade most plasma samples, including those from BA.5 breakthrough infections.

These results suggest herd immunity established by natural infection could hardly stop RBD evolution, and vaccine boosters using BA.5 may not provide sufficiently broad protection.