นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกร โดยเน้นการทำงานที่ให้ยึด 5 ประเด็นยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ในการแก้ไขจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งให้เอื้อต่อการพัฒนาภาคการเกษตรในระยะยาว เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน โดยมีแนวทางไปสู่เป้าหมายคือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
โดยเดินหน้าให้ความสำคัญกับนโยบาย 15 เรื่อง เช่น เน้นหลักตลาดนำการผลิต การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตร รวมทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางเป้าหมายในการทำงานรองรับความปกติใหม่ (New Normal) และสร้างเอกภาพในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง ซึ่งรวมถึงการพัฒนากำลังคนในภาคการเกษตร พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย Young Smart Farmer เพิ่มบทบาทของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือน และการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน รวมทั้งการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ซึ่งเป็นเครือข่ายการทำงานที่สำคัญในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
โดยเดินหน้าให้ความสำคัญกับนโยบาย 15 เรื่อง เช่น เน้นหลักตลาดนำการผลิต การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตร รวมทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางเป้าหมายในการทำงานรองรับความปกติใหม่ (New Normal) และสร้างเอกภาพในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง ซึ่งรวมถึงการพัฒนากำลังคนในภาคการเกษตร พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย Young Smart Farmer เพิ่มบทบาทของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือน และการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน รวมทั้งการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ซึ่งเป็นเครือข่ายการทำงานที่สำคัญในพื้นที่