xs
xsm
sm
md
lg

“หมอยง”เผยโรคมือเท้าปากตัวที่รุนแรงที่สุดคือ EV-A 71

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า โรคมือเท้าปาก วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก

หลังจากเปิดเรียน มีการระบาดของโรค มือเท้าปาก มากขึ้น เห็นได้ชัด
กลุ่มอาการมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายตัวมาก เช่น Coxsackie A, เช่น CA6, CA16 CB, Enterovirus A และอื่นๆ อีกมาก

ตัวที่รุนแรงที่สุดที่จะมีโอกาสเกิดสมองอักเสบ จะเป็น EV-A 71 โอกาสที่เกิดสมองอักเสบส่วนใหญ่ จะเป็นเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต อายุยิ่งน้อยยิ่งมีโอกาสเกิดมากกว่า อายุที่มากขึ้น

ในการระบาดปีนี้ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ CA6 จะแสดงอาการทางผิวหนังค่อนข้างมาก มีตุ่มขึ้นที่เพดานปาก มือ เท้า ข้อศอก ข้อเข่า รอบก้น และเมื่อหายแล้วบางรายจะมีร่องรอยที่เล็บ

ในการระบาด บางปี จะเกิดจากสายพันธุ์ EV71 ดังแสดงในรูป ที่เคยระบาดในปี 2560 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ทางศูนย์เรา เฝ้าระวังสายพันธุ์การระบาดของโรคมือเท้าปากมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี จนถึงปัจจุบันดังแสดงในกราฟ ให้เห็นแต่ละปี สายพันธุ์เป็นอะไร เพื่อประโยชน์ในการดูแลและการป้องกัน

วัคซีนป้องกันมือเท้าปาก ที่พูดกัน ที่จริงเรียกไม่ถูก จะต้องเรียกว่าวัคซีนป้องกัน EV71 เท่านั้น เพราะไม่สามารถข้ามสายพันธุ์มาป้องกัน CA หรือ CB ได้ การให้ในปีนี้ จะไม่ต้องกันมือเท้าปากในปีนี้ ที่ส่วนใหญ่เป็น CA6

วัคซีนป้องกัน EV71 ทำมาจากสายพันธุ์ EV71 สายพันธุ์ย่อย C4 แต่การระบาดในประเทศไทยของเราในปี 2560 เป็นสายพันธุ์ B5 และก่อนการระบาดของ covid เราพบว่า EV71 ที่พบ เริ่มจะพบสายพันธุ์เป็น C! แล้วก็หยุดไป และในปีนี้การระบาดส่วนใหญ่ที่ตรวจพบขณะนี้ ไม่ใช่ EV71 แต่เป็น CA6

ยังไม่มีการศึกษาทางคลินิก ในการยืนยันการข้ามสายพันธุ์ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร มีเพียงรการศึกษาในหลอดทดลองเท่านั้น วัคซีนจีนแผ่นดินใหญ่ทำมาจากสายพันธุ์ C4 วัคซีนไต้หวันที่ทำการศึกษา ทำจากสายพันธุ์ B4

สิ่งจะต้องทำความเข้าใจคือ วัคซีนมือเท้าปาก EV71 ไม่สามารถป้องกัน มือเท้าปากที่เกิดส่วนใหญ่ในประเทศไทย ที่มีสายพันธุ์ CA6, CA16 และอื่นๆได้ จะป้องกันจำเพาะต่อ EV71 และสิ่งที่จะต้องทำการศึกษาการข้ามสายพันธุ์ในการป้องกันระหว่าง EV71 C4 มาป้องกันสายพันธุ์ EV71 B5 หรือ C1 ที่พบในบ้านเรา ได้มากน้อยเพียงไร เป็นสิ่งที่ควรจะมีวางแผนการศึกษาต่อไป เพื่อพิจารณาการนำวัคซีนมาใช้ต่อไปในอนาคต