ที่ปรึกษากฎหมายด้านควบรวมกิจการ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวในการควบรวมกิจการผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ระหว่างบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น (ทรู) กับบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ดีแทค) ว่า เป็นการสร้างความสับสน และตีความหลายรูปแบบ ซึ่งการควบรวมในกิจการโทรคมนาคมนั้น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) จะต้องอ้างอิงหลักกฎหมายให้แม่นยำ เพราะเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมาย และยังเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วย ซึ่ง กสทช.ต้องแยกประเด็นความแตกต่างระหว่างการควบรวมกิจการ กับการซื้อกิจการ เพราะหากยังแยกประเด็นนี้ไม่ออก กสทช.จะเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทั้งนี้ ประกาศ กสทช.ปี 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับนั้น กำหนดว่า การควบรวมกิจการ หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปตกลงรวมกิจการกัน เกิดเป็นบริษัทใหม่ โดยบริษัททั้งสองจะร่วมกันเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ เช่น กรณีควบรวมของทรู และ ดีแทค หลังการควบรวมจะถือหุ้นใกล้เคียงกัน บริหารแบบไม่มีรายใดรายหนึ่งบริหารเบ็ดเสร็จ แต่เป็นแบบ Equal Partnership ขณะที่การซื้อกิจการ คือ การที่บริษัทหนึ่งเข้าซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง โดยบริษัทที่เข้าซื้อจะเข้าไปเป็นเจ้าของบริษัทที่ถูกซื้อ โดยหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อจะไม่ถูกยกเลิกไป เช่น เอไอเอส จะเข้าซื้อ 3BB จะทำให้มาเป็นเจ้าของ 3BB ต่างกับ กรณีของทรู และ ดีแทค ที่ไม่มีการเข้าซื้อกิจการของอีกฝั่ง
ทั้งนี้ ประกาศ กสทช.ปี 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับนั้น กำหนดว่า การควบรวมกิจการ หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปตกลงรวมกิจการกัน เกิดเป็นบริษัทใหม่ โดยบริษัททั้งสองจะร่วมกันเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ เช่น กรณีควบรวมของทรู และ ดีแทค หลังการควบรวมจะถือหุ้นใกล้เคียงกัน บริหารแบบไม่มีรายใดรายหนึ่งบริหารเบ็ดเสร็จ แต่เป็นแบบ Equal Partnership ขณะที่การซื้อกิจการ คือ การที่บริษัทหนึ่งเข้าซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง โดยบริษัทที่เข้าซื้อจะเข้าไปเป็นเจ้าของบริษัทที่ถูกซื้อ โดยหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อจะไม่ถูกยกเลิกไป เช่น เอไอเอส จะเข้าซื้อ 3BB จะทำให้มาเป็นเจ้าของ 3BB ต่างกับ กรณีของทรู และ ดีแทค ที่ไม่มีการเข้าซื้อกิจการของอีกฝั่ง