วันนี้ (20 ก.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือ และลงมติคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) ที่บัญญัติ ว่า จำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.บ.นี้ต้องถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการรับโทษอาญาของบุคคล หรือไม่ โดยศาลอุทธรณ์ส่งคำโต้แย้ง เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
ขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญยังพิจารณาคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30(6) ที่บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนําของคณะกรรมการนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยว่าด้วยการตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล และบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ หรือไม่ โดยศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีในคดีหมายเลขดำที่ 2445/2563 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30(6) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 40 วรรคสอง
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (2) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
ขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญยังพิจารณาคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30(6) ที่บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนําของคณะกรรมการนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยว่าด้วยการตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล และบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ หรือไม่ โดยศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีในคดีหมายเลขดำที่ 2445/2563 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30(6) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 40 วรรคสอง