รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า"โควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เราต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน?"
หลังจากที่เริ่มมีรายงานข่าวว่า พบไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ที่เป็นสายพันธุ์ย่อยใหม่ ชื่อว่า BA.4 และ BA.5 ระบาดมากขึ้นในหลายประเทศ และล่าสุด ก็มีพบจำนวนหนึ่งในประเทศไทยเราด้วย ทำให้เริ่มเกิดคำถามว่า เราจะต้องกังวลเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ มากน้อยแค่ไหน ? ต้องเตรียมการรับมืออะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?
ดังนั้น ผมลองสรุปข้อมูลที่พอจะหาได้ มาให้พิจารณากัน
- โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้น มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ อย่างเช่น สายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งระบาดเป็นหลักในประเทศไทยเราช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
- แต่ตอนนี้ มันก็มีวิวัฒนาการไปอีก เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 (ดูแผนภูมิในรูปประกอบ) ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดที่เร็วขึ้นกว่าเดิม มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในปอดได้มากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วมันอาจจะเป็นตัวที่อันตรายขึ้นกว่าโอมิครอนเดิม (คือ BA.2) แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานโดยตรง ว่ามันทำให้เกิดอาการของโรคที่ซีเรียสขึ้นจริง
- แม้จะฟังดูน่ากังวล แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณชี้บ่งว่ามันจะทำให้เกิด "คลื่น (wave) " การแพร่ระบาดใหญ่ และมีผู้เสียชีวิตมากมายขึ้นอีก แต่อาจจะมีการเพิ่มขึ้นบ้างพอเห็นเป็นพีค และผู้ที่จะเสี่ยงชีวิตกับเชื้อนี้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน
- ตอนนี้ สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิดกว่า 97% ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกนั้น เป็นโอมิครอน โดยมีสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด (39% ของพวกโอมิครอนทั้งหมด) ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2.12.1 มีอยู่ 28%, BA.5 มี 6%, และ BA.4 มี 3%
- แต่การที่สายพันธุ์ย่อยหลังๆ นั้น เริ่มมีมากขึ้น และอาจจะเข้าแทนที่ BA.2 ได้ องค์การ อนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้พวกมันเป็น “สายวิวัฒนาการ ที่กำลังจับตามอง ของสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern lineages under monitoring)
- มีรายงานการระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในประเทศอัฟริกาใต้ และประเทศโปรตุเกส ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นพีค และตอนนี้ก็มีรายงานว่าเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ย่อยนี้ มีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น ในประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา โดยมีแนวโน้มว่าอาจจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต
- ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์กังวลกันของเชื้อพวกนี้ (ทั้ง BA.4 , BA.5 และ BA.2.12.1) ก็คือการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นที่ยีนโปรตีนหนาม ในตำแหน่ง LR452 ที่อาจจะเป็นตัวการทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ย่อยเดิม
- รวมทั้ง พวกมันเหมือนจะติดเชื้อที่เนื้อเยื่อปอดได้มากขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับสายพันธุ์อื่นๆ อย่าง อัลฟ่า Alpha หรือ เดลต้า Delta (โอมิครอนตัวเก่า อย่างสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 มักจะเชื้อที่เนื้อเยื่อทางเดินหายใจตอนบน เช่นเซลล์บุในโพรงจมูก มากกว่า
- ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยของ Kei Sato และคณะที่มหาวิทยาลัยโตเกียว แสดงให้เห็นว่า BA.4/5 และ BA.2.12.1 นั้นเพิ่มจำนวนในเซลล์ปอดของคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า BA.2
- ส่วนการทดลองของพวกเขา ในหนูแฮมสเตอร์ ก็พบว่า BA.4 และ BA.5 สามารถทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงได้ (แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานในมนุษย์ก็ตาม) รวมถึงการที่มันเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น และอาจจะดื้อต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายหนู ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อก่อนหน้านั้น
- เป็นไปได้ว่า ที่ BA.4 และ BA.5 จะมาแทนที่สายพันธุ์อื่นได้นั้น เนื่องจากว่ามันมีความสามารถในการที่จะหลบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่เกิดจากการที่เคยติดเชื้อหรือจากการฉีดวัคซีน จนทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้
อย่างไรก็ตาม วัคซีนก็ยังเป็นเกราะป้องกันที่ดี ต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากเชื้อพวกนี้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นบูสเตอร์ ก็ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยเสริมระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในการรับมือกับสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้
สรุป เชื้อโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อยู่ในกลุ่มของเชื้อที่ต้องจับตามอง ว่าจะมาแทนที่สายพันธุ์ย่อยเดิม อย่าง BA.2 เมื่อไหร่ ซึ่งการคาดการณ์ที่มีอยู่ขนาดนี้ ยังไม่มีตัวชี้บ่งว่า จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดที่รุนแรง และมีผู้เสียชีวิตมาก เหมือนช่วงปีก่อนๆ การฉีดวัคซีน และฉีดกระตุ้น ยังเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ในการปกป้องตนเองและสังคม จากการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ด้วยสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ครับ
หลังจากที่เริ่มมีรายงานข่าวว่า พบไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ที่เป็นสายพันธุ์ย่อยใหม่ ชื่อว่า BA.4 และ BA.5 ระบาดมากขึ้นในหลายประเทศ และล่าสุด ก็มีพบจำนวนหนึ่งในประเทศไทยเราด้วย ทำให้เริ่มเกิดคำถามว่า เราจะต้องกังวลเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ มากน้อยแค่ไหน ? ต้องเตรียมการรับมืออะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?
ดังนั้น ผมลองสรุปข้อมูลที่พอจะหาได้ มาให้พิจารณากัน
- โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้น มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ อย่างเช่น สายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งระบาดเป็นหลักในประเทศไทยเราช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
- แต่ตอนนี้ มันก็มีวิวัฒนาการไปอีก เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 (ดูแผนภูมิในรูปประกอบ) ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดที่เร็วขึ้นกว่าเดิม มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในปอดได้มากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วมันอาจจะเป็นตัวที่อันตรายขึ้นกว่าโอมิครอนเดิม (คือ BA.2) แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานโดยตรง ว่ามันทำให้เกิดอาการของโรคที่ซีเรียสขึ้นจริง
- แม้จะฟังดูน่ากังวล แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณชี้บ่งว่ามันจะทำให้เกิด "คลื่น (wave) " การแพร่ระบาดใหญ่ และมีผู้เสียชีวิตมากมายขึ้นอีก แต่อาจจะมีการเพิ่มขึ้นบ้างพอเห็นเป็นพีค และผู้ที่จะเสี่ยงชีวิตกับเชื้อนี้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน
- ตอนนี้ สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิดกว่า 97% ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกนั้น เป็นโอมิครอน โดยมีสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด (39% ของพวกโอมิครอนทั้งหมด) ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2.12.1 มีอยู่ 28%, BA.5 มี 6%, และ BA.4 มี 3%
- แต่การที่สายพันธุ์ย่อยหลังๆ นั้น เริ่มมีมากขึ้น และอาจจะเข้าแทนที่ BA.2 ได้ องค์การ อนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้พวกมันเป็น “สายวิวัฒนาการ ที่กำลังจับตามอง ของสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern lineages under monitoring)
- มีรายงานการระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในประเทศอัฟริกาใต้ และประเทศโปรตุเกส ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นพีค และตอนนี้ก็มีรายงานว่าเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ย่อยนี้ มีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น ในประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา โดยมีแนวโน้มว่าอาจจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต
- ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์กังวลกันของเชื้อพวกนี้ (ทั้ง BA.4 , BA.5 และ BA.2.12.1) ก็คือการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นที่ยีนโปรตีนหนาม ในตำแหน่ง LR452 ที่อาจจะเป็นตัวการทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ย่อยเดิม
- รวมทั้ง พวกมันเหมือนจะติดเชื้อที่เนื้อเยื่อปอดได้มากขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับสายพันธุ์อื่นๆ อย่าง อัลฟ่า Alpha หรือ เดลต้า Delta (โอมิครอนตัวเก่า อย่างสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 มักจะเชื้อที่เนื้อเยื่อทางเดินหายใจตอนบน เช่นเซลล์บุในโพรงจมูก มากกว่า
- ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยของ Kei Sato และคณะที่มหาวิทยาลัยโตเกียว แสดงให้เห็นว่า BA.4/5 และ BA.2.12.1 นั้นเพิ่มจำนวนในเซลล์ปอดของคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า BA.2
- ส่วนการทดลองของพวกเขา ในหนูแฮมสเตอร์ ก็พบว่า BA.4 และ BA.5 สามารถทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงได้ (แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานในมนุษย์ก็ตาม) รวมถึงการที่มันเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น และอาจจะดื้อต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายหนู ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อก่อนหน้านั้น
- เป็นไปได้ว่า ที่ BA.4 และ BA.5 จะมาแทนที่สายพันธุ์อื่นได้นั้น เนื่องจากว่ามันมีความสามารถในการที่จะหลบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่เกิดจากการที่เคยติดเชื้อหรือจากการฉีดวัคซีน จนทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้
อย่างไรก็ตาม วัคซีนก็ยังเป็นเกราะป้องกันที่ดี ต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากเชื้อพวกนี้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นบูสเตอร์ ก็ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยเสริมระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในการรับมือกับสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้
สรุป เชื้อโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อยู่ในกลุ่มของเชื้อที่ต้องจับตามอง ว่าจะมาแทนที่สายพันธุ์ย่อยเดิม อย่าง BA.2 เมื่อไหร่ ซึ่งการคาดการณ์ที่มีอยู่ขนาดนี้ ยังไม่มีตัวชี้บ่งว่า จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดที่รุนแรง และมีผู้เสียชีวิตมาก เหมือนช่วงปีก่อนๆ การฉีดวัคซีน และฉีดกระตุ้น ยังเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ในการปกป้องตนเองและสังคม จากการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ด้วยสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ครับ