วันนี้ (3 มิ.ย.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย ที่กำลังเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ว่า โรคโควิด-19 ใกล้จะเป็นโรคประจำถิ่นด้วยเหตุผล 2 ประการคือ เชื้อไวรัสโควิด-19 อ่อนกำลัง แต่คำว่าอ่อนกำลังนั้น ประกอบด้วย คนที่ได้รับวัคซีน หรือคนที่เคยติดเชื้อ ประกอบกับได้รับวัคซีนทั่วไป จึงอ่อนกำลัง แต่หากเชื้อโอมิครอน เข้าไปเจอกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย เชื้อโอมิครอนอาจจะน่ากลัวมากกว่า โรคประจำถิ่น หรือเกือบจะประจำถิ่น จึงมีตัวแปรคือ ไวรัส และคนที่ได้รับวัคซีน ซึ่งคนที่ได้รับวัคซีนจริงๆ แล้ว ต้องได้รับในระดับ 3 เข็ม เพราะในต่างประเทศฉีด 3 เข็ม ก็เพียงพอ จะทำให้มีความปลอดภัยระดับหนึ่ง
ส่วนอาการลองโควิดนั้น กลุ่มคนที่ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลต้า แม้มีอาการรุนแรง แต่หายแล้ว จะไม่มีอาการต่อเนื่อง แต่ผู้ติดเชื้อโอมิครอน แม้หายแล้วจะมีอาการประหลาดกลับขึ้นมาอีก
ทั้งนี้ ได้รับทุนของสำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาศึกษาประเมินเรื่องนี้ พร้อมทั้งพัฒนาชุดตรวจภาวะสมองเสื่อม หลังหายจากโควิด ขณะเดียวกันดูว่าใครที่ยังมีแนวโน้มจะมีลักษณะของอาการลองโควิดต่อเนื่อง และกระทบต่อสมองแค่ไหน สามารถตรวจพิษที่อยู่ในสมองได้
ส่วนอาการลองโควิดนั้น กลุ่มคนที่ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลต้า แม้มีอาการรุนแรง แต่หายแล้ว จะไม่มีอาการต่อเนื่อง แต่ผู้ติดเชื้อโอมิครอน แม้หายแล้วจะมีอาการประหลาดกลับขึ้นมาอีก
ทั้งนี้ ได้รับทุนของสำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาศึกษาประเมินเรื่องนี้ พร้อมทั้งพัฒนาชุดตรวจภาวะสมองเสื่อม หลังหายจากโควิด ขณะเดียวกันดูว่าใครที่ยังมีแนวโน้มจะมีลักษณะของอาการลองโควิดต่อเนื่อง และกระทบต่อสมองแค่ไหน สามารถตรวจพิษที่อยู่ในสมองได้