จากกรณีที่มีการโพสต์โดยระบุว่า ทส. เฝ้าระวังฝีดาษลิง สั่งกรมอุทยานฯ ตรวจสุขภาพลิงภายในประเทศ ห้ามขนย้ายสัตว์ข้ามแดน ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการอนุญาตนำเข้า ส่งออก และนำผ่านสัตว์ป่าต่างประเทศ เพื่อการค้าตามอนุสัญญา CITES ได้เชิญหัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า หัวหน้าด่านตรวจสัตว์ป่าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้แทนด่านควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ผู้แทนฝ่ายการแพทย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และผู้แทนด่านกักกันสัตว์ป่าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมปศุสัตว์ เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางปฏิบัติงานในการควบคุมและเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง โดยมีแนวทางในการเฝ้าระวังและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ดังนี้
1. แจ้งด่านตรวจสัตว์ป่าทั่วประเทศ เพิ่มความเข้มงวดการตรวจตราการนำเข้า และนำผ่านสัตว์ป่าต่างประเทศ รวมทั้งเฝ้าระวังการลักลอบการนำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มลิง และกลุ่มสัตว์ฟันแทะ ที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย
2. แจ้งให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง ขอให้ตรวจโรคฝีดาษลิงเพิ่มเติมจากข้อบังคับการตรวจโรคของกรมปศุสัตว์ (REQUIREMENTS FOR THE IMPORTATION OF ZOO ANDWILD ANIMALS INTO THE KINGDOM OF THAILAND)
3. ประสานด่านกักกันสัตว์ ของกรมปศุสัตว์ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ขอให้ตรวจสอบใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) ของผู้นำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยง ว่าได้มีการตรวจโรคฝีดาษลิงหรือไม่ ก่อนอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
4. ขอความร่วมมือผู้นำเข้าสัตว์ป่าต่างประเทศ หากเป็นไปได้ขอให้ชะลอการยื่นคำขอ หรือการนำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยงที่มาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคฝีดาษลิงเข้ามายังประเทศไทย
5. ให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์ป่าที่มีการนำเข้า นำผ่าน สัตว์ป่าต่างประเทศเพิ่มความเข้มงวดและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานตามมาตรการสาธารณสุข เพราะมีโอกาสสัมผัสสัตว์ป่าที่เป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง
6. ดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังเชิงรุก ติดตามตรวจสอบสุขภาพของสัตว์ป่ากลุ่มลิงและกลุ่มสัตว์ฟันแทะที่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์ป่าดังกล่าวไม่เป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง พร้อมทั้งสอบถามสุขภาพของผู้เลี้ยงว่ามีอาการที่คล้ายคลึงกับผู้ติดเชื้อจากโรคฝีดาษลิงหรือไม่
7. ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง e-Service ให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่างประเทศเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง หากมีข้อสงสัย หรือเหตุฉุกเฉินขอให้แจ้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สายด่วน 1362
ดังนั้นข้อมูลและภาพที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://portal.dnp.go.th หรือโทร. 02 5610777
1. แจ้งด่านตรวจสัตว์ป่าทั่วประเทศ เพิ่มความเข้มงวดการตรวจตราการนำเข้า และนำผ่านสัตว์ป่าต่างประเทศ รวมทั้งเฝ้าระวังการลักลอบการนำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มลิง และกลุ่มสัตว์ฟันแทะ ที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย
2. แจ้งให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง ขอให้ตรวจโรคฝีดาษลิงเพิ่มเติมจากข้อบังคับการตรวจโรคของกรมปศุสัตว์ (REQUIREMENTS FOR THE IMPORTATION OF ZOO ANDWILD ANIMALS INTO THE KINGDOM OF THAILAND)
3. ประสานด่านกักกันสัตว์ ของกรมปศุสัตว์ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ขอให้ตรวจสอบใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) ของผู้นำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยง ว่าได้มีการตรวจโรคฝีดาษลิงหรือไม่ ก่อนอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
4. ขอความร่วมมือผู้นำเข้าสัตว์ป่าต่างประเทศ หากเป็นไปได้ขอให้ชะลอการยื่นคำขอ หรือการนำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยงที่มาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคฝีดาษลิงเข้ามายังประเทศไทย
5. ให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์ป่าที่มีการนำเข้า นำผ่าน สัตว์ป่าต่างประเทศเพิ่มความเข้มงวดและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานตามมาตรการสาธารณสุข เพราะมีโอกาสสัมผัสสัตว์ป่าที่เป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง
6. ดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังเชิงรุก ติดตามตรวจสอบสุขภาพของสัตว์ป่ากลุ่มลิงและกลุ่มสัตว์ฟันแทะที่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์ป่าดังกล่าวไม่เป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง พร้อมทั้งสอบถามสุขภาพของผู้เลี้ยงว่ามีอาการที่คล้ายคลึงกับผู้ติดเชื้อจากโรคฝีดาษลิงหรือไม่
7. ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง e-Service ให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่างประเทศเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง หากมีข้อสงสัย หรือเหตุฉุกเฉินขอให้แจ้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สายด่วน 1362
ดังนั้นข้อมูลและภาพที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://portal.dnp.go.th หรือโทร. 02 5610777