วันนี้ (27 พ.ค.) นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน พร้อมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะ 10 จุดเสี่ยง ในเขตเมือง และนำเอาข้อมูลปัญหาจากเหตุอุทกภัยช่วงวันที่ 20-22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเตรียมรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในครั้งต่อไป
สำหรับจุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังและเร่งแก้ไขปัญหา ได้แก่ จุดที่ 1 บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ตรงข้ามเซ็นทรัลพลาซาแอร์พอร์ต จุดที่ 2 ถนนโชตนา บริเวณหน้าสนามกอล์ฟลานนา จุดที่ 3 พื้นที่บริเวณถนนห้วยแก้ว และพื้นที่บริเวณช่างเคี่ยน จุดที่ 4 บริเวณหลังโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จุดที่ 5 สี่แยกตลาดต้นพะยอม จุดที่ 6 กาดก้อม ชุมชนศรีปิงเมือง จุดที่ 7 สี่แยกข่วงสิงห์ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จุดที่ 8 ประตูน้ำดอนชัย พื้นที่เทศบาลตำบลป่าแดด จุดที่ 9 สี่แยกบิ๊กซีแม่เหียะ-โรงเรียนสารสาสน์ล้านนา-ร้องเรือนคำ และจุดที่ 10 ชุมชนหมู่บ้านดาราวดี
ทั้งนี้ ได้มอบหมายภารกิจและกำหนดหน่วยงานหลักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยทั้ง 10 จุดเสี่ยง โดยทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ ทั้งการขุดลอกท่อที่อุดตัน การทะลวงท่อ ปรับปรุงช่องทางน้ำ การเตรียมความพร้อมสรรพกำลัง ทั้งอุปกรณ์และบุคลากร โดยเฉพาะเร่งดำเนินการสำรวจและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ รวมถึงการเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน
สำหรับจุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังและเร่งแก้ไขปัญหา ได้แก่ จุดที่ 1 บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ตรงข้ามเซ็นทรัลพลาซาแอร์พอร์ต จุดที่ 2 ถนนโชตนา บริเวณหน้าสนามกอล์ฟลานนา จุดที่ 3 พื้นที่บริเวณถนนห้วยแก้ว และพื้นที่บริเวณช่างเคี่ยน จุดที่ 4 บริเวณหลังโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จุดที่ 5 สี่แยกตลาดต้นพะยอม จุดที่ 6 กาดก้อม ชุมชนศรีปิงเมือง จุดที่ 7 สี่แยกข่วงสิงห์ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จุดที่ 8 ประตูน้ำดอนชัย พื้นที่เทศบาลตำบลป่าแดด จุดที่ 9 สี่แยกบิ๊กซีแม่เหียะ-โรงเรียนสารสาสน์ล้านนา-ร้องเรือนคำ และจุดที่ 10 ชุมชนหมู่บ้านดาราวดี
ทั้งนี้ ได้มอบหมายภารกิจและกำหนดหน่วยงานหลักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยทั้ง 10 จุดเสี่ยง โดยทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ ทั้งการขุดลอกท่อที่อุดตัน การทะลวงท่อ ปรับปรุงช่องทางน้ำ การเตรียมความพร้อมสรรพกำลัง ทั้งอุปกรณ์และบุคลากร โดยเฉพาะเร่งดำเนินการสำรวจและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ รวมถึงการเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน