วันนี้ (26 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด (โฟกัสกรุ๊ป) กรณีการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธพลเมือง
นายศรันย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า การควบรวมจะทำให้เกิดผลกระทบ 3 ด้าน ทั้งด้านราคา การบริการ และคุณภาพสัญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพสัญญาณนั้น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องหมั่นขยายช่องสัญญาณ และตรวจสอบคุณภาพสัญญาณเป็นประจำทุกเดือน หากในพื้นที่ใดผู้ให้บริการไม่ได้ดูแลตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ สัญญาณในบริเวณนั้นที่เคยดีจะใช้งานติดขัด และส่งผลกระทบถึงบริการที่ไม่มีเครือข่ายไร้สายของตัวเอง (MVNO) และบริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ (OTT) ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่บนโครงข่ายนั้น ผู้ใช้บริการจึงควรมีทางเลือกในการย้ายค่ายไปใช้ค่ายที่สัญญาณดีกว่าในบริเวณนั้น การควบรวมธุรกิจของผู้ให้บริการรายใหญ่ จึงเป็นการลดทางเลือกของผู้ใช้บริการในเรื่องนี้ ถึงแม้จะเพิ่ม MVNO เข้ามาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
ขณะที่ นายฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า จากการคำนวณดัชนีการกระจุกตัว (HHI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดว่าตลาดกระจุกตัวกับผู้ประกอบการรายใหญ่มากขนาดไหน พบว่า ส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน เอไอเอส 46.8% ทรู 32.5% ดีแทค 17.8% และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที 2.8% ดังนั้น หลังควบรวมกิจการ ส่วนแบ่งตลาดหลังควบรวมทรู-ดีแทค จะอยู่ที่ 50.4% จากดัชนีการกระจุกตัว HHI ปัจจุบันอยู่ที่ 3,578 จะเพิ่มขึ้น 32.4% เป็น 4,737
ทั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดอินเตอร์เน็ตมือถือปัจจุบัน ดัชนีการกระจุกตัว HHI อยู่ที่ 3,556 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 เป็น 4,823 แบ่งเป็น เอไอเอส 46.8% ทรู 30.4% ดีแทค 20.8% และเอ็นที 1.9% ซึ่งจะนำผู้ให้บริการ MVNO มาคำนวณร่วมหรือไม่ ผลที่ออกมาไม่แตกต่างกัน เพราะมีผู้ให้บริการเพียง 5 ราย รวม 40,000 เลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 0.03% ทั้งนี้ ไม่นำผู้ให้บริการ OTT มาคำนวณ เพราะแตกต่างจากบริการโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตมือถือ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน และหลังนำแบบจำลองไปคำนวณการควบรวมกิจการ พบว่า ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการแพงขึ้น ร้อยละ 7-23 หรือ 5-50 บาทต่อเดือน มากกว่าการประหยัดต้นทุน เฉลี่ยรวมอยู่ที่ประมาณ 220 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน
นายศรันย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า การควบรวมจะทำให้เกิดผลกระทบ 3 ด้าน ทั้งด้านราคา การบริการ และคุณภาพสัญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพสัญญาณนั้น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องหมั่นขยายช่องสัญญาณ และตรวจสอบคุณภาพสัญญาณเป็นประจำทุกเดือน หากในพื้นที่ใดผู้ให้บริการไม่ได้ดูแลตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ สัญญาณในบริเวณนั้นที่เคยดีจะใช้งานติดขัด และส่งผลกระทบถึงบริการที่ไม่มีเครือข่ายไร้สายของตัวเอง (MVNO) และบริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ (OTT) ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่บนโครงข่ายนั้น ผู้ใช้บริการจึงควรมีทางเลือกในการย้ายค่ายไปใช้ค่ายที่สัญญาณดีกว่าในบริเวณนั้น การควบรวมธุรกิจของผู้ให้บริการรายใหญ่ จึงเป็นการลดทางเลือกของผู้ใช้บริการในเรื่องนี้ ถึงแม้จะเพิ่ม MVNO เข้ามาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
ขณะที่ นายฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า จากการคำนวณดัชนีการกระจุกตัว (HHI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดว่าตลาดกระจุกตัวกับผู้ประกอบการรายใหญ่มากขนาดไหน พบว่า ส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน เอไอเอส 46.8% ทรู 32.5% ดีแทค 17.8% และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที 2.8% ดังนั้น หลังควบรวมกิจการ ส่วนแบ่งตลาดหลังควบรวมทรู-ดีแทค จะอยู่ที่ 50.4% จากดัชนีการกระจุกตัว HHI ปัจจุบันอยู่ที่ 3,578 จะเพิ่มขึ้น 32.4% เป็น 4,737
ทั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดอินเตอร์เน็ตมือถือปัจจุบัน ดัชนีการกระจุกตัว HHI อยู่ที่ 3,556 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 เป็น 4,823 แบ่งเป็น เอไอเอส 46.8% ทรู 30.4% ดีแทค 20.8% และเอ็นที 1.9% ซึ่งจะนำผู้ให้บริการ MVNO มาคำนวณร่วมหรือไม่ ผลที่ออกมาไม่แตกต่างกัน เพราะมีผู้ให้บริการเพียง 5 ราย รวม 40,000 เลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 0.03% ทั้งนี้ ไม่นำผู้ให้บริการ OTT มาคำนวณ เพราะแตกต่างจากบริการโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตมือถือ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน และหลังนำแบบจำลองไปคำนวณการควบรวมกิจการ พบว่า ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการแพงขึ้น ร้อยละ 7-23 หรือ 5-50 บาทต่อเดือน มากกว่าการประหยัดต้นทุน เฉลี่ยรวมอยู่ที่ประมาณ 220 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน