วันนี้ (26 พ.ค.) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างแนวทางการปรับปรุงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย 1.ระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กำหนดให้มีใบรับรองการปฏิบัติการสอน (Provisional Teaching Certificate) และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ 2.ระบบการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น (Basic Professional Teaching License: B-license)
สำหรับใบรับรองการปฏิบัติการสอนนั้น ทุกคนที่จบสายครูจะได้รับใบรับรองการปฏิบัติการสอนโดยอัตโนมัติ เพื่อนำไปใช้ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย และเมื่อได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยแล้ว จะมีระยะเวลา 2 ปี ในการพัฒนาตนเอง เพื่อเลื่อนฐานะจากครูผู้ช่วยมาเป็นครู ซึ่งต้องเข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น โดยกำหนดให้มีการทดสอบความรู้และประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ประกอบด้วย วิชาครู (PCK และทักษะวิชาชีพครู) และ วิชาที่สอน (Content พื้นฐาน) โดย แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ปฐมวัย การศึกษาพิเศษ วิชาบูรณาการ วิชาเฉพาะ (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน) และ อาชีวศึกษา (ตามหลักสูตรการอาชีวศึกษา แยกตามสาขา/แขนง) และเมื่อได้ B-license แล้ว ครูจะต้องมีการพัฒนาตนให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อให้ได้วิทยฐานะและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง (Advanced Professional Teaching License : A-license)
สำหรับใบรับรองการปฏิบัติการสอนนั้น ทุกคนที่จบสายครูจะได้รับใบรับรองการปฏิบัติการสอนโดยอัตโนมัติ เพื่อนำไปใช้ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย และเมื่อได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยแล้ว จะมีระยะเวลา 2 ปี ในการพัฒนาตนเอง เพื่อเลื่อนฐานะจากครูผู้ช่วยมาเป็นครู ซึ่งต้องเข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น โดยกำหนดให้มีการทดสอบความรู้และประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ประกอบด้วย วิชาครู (PCK และทักษะวิชาชีพครู) และ วิชาที่สอน (Content พื้นฐาน) โดย แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ปฐมวัย การศึกษาพิเศษ วิชาบูรณาการ วิชาเฉพาะ (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน) และ อาชีวศึกษา (ตามหลักสูตรการอาชีวศึกษา แยกตามสาขา/แขนง) และเมื่อได้ B-license แล้ว ครูจะต้องมีการพัฒนาตนให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อให้ได้วิทยฐานะและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง (Advanced Professional Teaching License : A-license)