จากที่มีการแชร์ข้อความว่าห้ามรับประทานปู ที่มีรู เพราะว่ารูนั้นเอาไว้ฉีดสารฟอร์มาลีนเข้าไป ทางกรมอนามัย หน่วยงานสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ภาพนี้เป็นภาพเก่าถูกแชร์ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งสื่อต่างประเทศได้ออกมาแจ้งว่าภาพปูมีรูที่ท้องไม่ได้เกิดจากการฉีดฟอร์มาลีน แต่เป็นการฉีดน้ำทะเลเข้าไป เพื่อเพิ่มน้ำหนักและรักษาความสดของปู ซึ่งฟอร์มาลีนเป็นสารมีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา จึงถือเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ในอาหาร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศตามกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ผู้ใช้สารนี้กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิตจำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์และถ้าหากตรวจพบสารดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยอาหารทะเลในช่วงหน้าร้อนมักจะต้องเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำ เพื่อป้องกันการเน่าเสีย รวมถึงปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เชื้ออหิวาต์เทียม ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารทะเลสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้สงสัยว่า มีฟอร์มาลีนอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด เพราะฟอร์มาลีนส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมดเนื่องจาก มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือโทร. 02 5904000
โดยอาหารทะเลในช่วงหน้าร้อนมักจะต้องเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำ เพื่อป้องกันการเน่าเสีย รวมถึงปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เชื้ออหิวาต์เทียม ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารทะเลสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้สงสัยว่า มีฟอร์มาลีนอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด เพราะฟอร์มาลีนส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมดเนื่องจาก มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือโทร. 02 5904000