นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม โพสต์เฟซบุ๊ก “หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)” หัวข้อ “ถามมา ตอบไป” ระบุว่า กรณีทิดกาโตะนำเงินวัดมาจ่ายเคลียร์ปัญหาให้ตนเองเช่นนี้ถือว่า เป็นการยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือไม่
โทษทางพระวินัยมีหรือไม่ หากมี ว่าอย่างไร
ตอบ คุณคนขี้สงสัย กรณีทิดกาโตะนำเงินวัดมาจ่ายเคลียร์ปัญหาของตนกับสีกา ผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่ เรื่องนี้มันมีมุมที่สังคมควรต้องวิเคราะห์ให้กระจ่างด้วยการไปตามสืบค้นกันดูว่า
๑. เงินนั้นมีที่มาอย่างไร
๒. หากเงินนั้นเป็นเงินของวัดมาแต่เดิม แล้วพระกาโตะไปลักลอบเบิกออกมาใช้โดยที่กรรมการวัดไม่ได้ยินยอม เช่นนี้ผิดเป็นคดีอาญา ข้อหายักยอกทรัพย์และผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ โทษฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปฎิบัติมิชอบ เพราะพระกาโตะมีตำแหน่งเป็นผู้รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาส มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับเจ้าอาวาสตัวจริง
ส่วนโทษทางวินัย คือ อาบัติปาราชิก
๓.แต่หากเงินนั้นไม่ได้เป็นของวัดมาแต่เดิม เป็นเงินที่ชาวบ้านเขามีศรัทธา ถวายให้พระกาโตะแล้วพระกาโตะก็นำไปฝากในบัญชีวัด โดยมิได้แสดงเจตนาว่า ยกเงินก้อนนี้ให้แก่วัด เป็นแต่เพียงไปอาศัยฝากไว้ในบัญชีวัด เมื่อพระกาโตะไปเบิกมาใช้ส่วนตน โดยมีกรรมการวัดรับรู้เห็นด้วย เช่นนี้ก็ไม่ถือว่ายักยอกทรัพย์ ไม่ผิด ๑๕๗ ด้วยเพราะพระกาโตะถือว่าเงินนั้นยังเป็นของตน หากจะผิด ก็ผิดตรงที่ไม่เหมาะสม ไม่รู้จักบริหารจัดการสิ่งที่ได้มาให้ชัดเจน
๔.แต่ถ้าเงินนั้นชาวบ้านเขาแสดงเจตนาชัดเจนว่า ถวายให้แก่วัด โดยมีพระกาโตะเป็นผู้รับทราบ ซึ่งต่อมาพระกาโตะไปเบิกมาใช้ส่วนตัว โดยไม่แจ้งให้กรรมการวัดรับรู้ เช่นนี้ก็เข้าข่ายยักยอกและผิด ๑๕๗ ทั้งมีโทษทางพระวินัย คือ ปรับอาบัติปาราชิก ฐานยักยอกทรัพย์สิน เงินทอง เกินราคา ๕ มาสก
๕.แม้พระกาโตะรู้อยู่แก่ใจว่า เงินนั้นชาวบ้านถวายให้แก่วัด แต่พระกาโตะเดือดร้อน จึงไปแจ้งต่อกรรมการขอยืมเงินนั้นมาใช้ก่อนโดยสัญญาว่า จะใช้คืนให้ ในวันและเวลาที่กำหนด เช่นนี้พระกาโตะก็ไม่ต้องรับโทษทางอาญาและไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ก็ผิดในพระวินัย ที่ว่าด้วยจับเงินจับทองและยินดีในเงินและทองนั้น เป็นอาบัติที่ว่าด้วยการไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย ไม่สำรวมต้องอาบัติปาจิตตีย์
สรุป เงิน คือ งู มันพร้อมที่จะฉก กัด พ่นพิษใส่แก่ภิกษุได้ทุกเวลา ทั้งสตรีก็ยังขึ้นชื่อว่าเป็นศัตรู ต่อพรหมจรรย์อยู่เสมอ ทั้งที่มีมาแล้วในอดีต มีอยู่ในปัจจุบัน และก็จะมีต่อไปในอนาคต เรื่องนี้พระอุปัชฌาย์จารย์ทั้งหลายควรต้องนำมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจตนเองว่า อย่าคบเด็กสร้างวัด อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน สุดท้ายมันจะพากันอับจนกันทั้งศิษย์และอาจารย์
โทษทางพระวินัยมีหรือไม่ หากมี ว่าอย่างไร
ตอบ คุณคนขี้สงสัย กรณีทิดกาโตะนำเงินวัดมาจ่ายเคลียร์ปัญหาของตนกับสีกา ผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่ เรื่องนี้มันมีมุมที่สังคมควรต้องวิเคราะห์ให้กระจ่างด้วยการไปตามสืบค้นกันดูว่า
๑. เงินนั้นมีที่มาอย่างไร
๒. หากเงินนั้นเป็นเงินของวัดมาแต่เดิม แล้วพระกาโตะไปลักลอบเบิกออกมาใช้โดยที่กรรมการวัดไม่ได้ยินยอม เช่นนี้ผิดเป็นคดีอาญา ข้อหายักยอกทรัพย์และผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ โทษฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปฎิบัติมิชอบ เพราะพระกาโตะมีตำแหน่งเป็นผู้รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาส มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับเจ้าอาวาสตัวจริง
ส่วนโทษทางวินัย คือ อาบัติปาราชิก
๓.แต่หากเงินนั้นไม่ได้เป็นของวัดมาแต่เดิม เป็นเงินที่ชาวบ้านเขามีศรัทธา ถวายให้พระกาโตะแล้วพระกาโตะก็นำไปฝากในบัญชีวัด โดยมิได้แสดงเจตนาว่า ยกเงินก้อนนี้ให้แก่วัด เป็นแต่เพียงไปอาศัยฝากไว้ในบัญชีวัด เมื่อพระกาโตะไปเบิกมาใช้ส่วนตน โดยมีกรรมการวัดรับรู้เห็นด้วย เช่นนี้ก็ไม่ถือว่ายักยอกทรัพย์ ไม่ผิด ๑๕๗ ด้วยเพราะพระกาโตะถือว่าเงินนั้นยังเป็นของตน หากจะผิด ก็ผิดตรงที่ไม่เหมาะสม ไม่รู้จักบริหารจัดการสิ่งที่ได้มาให้ชัดเจน
๔.แต่ถ้าเงินนั้นชาวบ้านเขาแสดงเจตนาชัดเจนว่า ถวายให้แก่วัด โดยมีพระกาโตะเป็นผู้รับทราบ ซึ่งต่อมาพระกาโตะไปเบิกมาใช้ส่วนตัว โดยไม่แจ้งให้กรรมการวัดรับรู้ เช่นนี้ก็เข้าข่ายยักยอกและผิด ๑๕๗ ทั้งมีโทษทางพระวินัย คือ ปรับอาบัติปาราชิก ฐานยักยอกทรัพย์สิน เงินทอง เกินราคา ๕ มาสก
๕.แม้พระกาโตะรู้อยู่แก่ใจว่า เงินนั้นชาวบ้านถวายให้แก่วัด แต่พระกาโตะเดือดร้อน จึงไปแจ้งต่อกรรมการขอยืมเงินนั้นมาใช้ก่อนโดยสัญญาว่า จะใช้คืนให้ ในวันและเวลาที่กำหนด เช่นนี้พระกาโตะก็ไม่ต้องรับโทษทางอาญาและไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ก็ผิดในพระวินัย ที่ว่าด้วยจับเงินจับทองและยินดีในเงินและทองนั้น เป็นอาบัติที่ว่าด้วยการไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย ไม่สำรวมต้องอาบัติปาจิตตีย์
สรุป เงิน คือ งู มันพร้อมที่จะฉก กัด พ่นพิษใส่แก่ภิกษุได้ทุกเวลา ทั้งสตรีก็ยังขึ้นชื่อว่าเป็นศัตรู ต่อพรหมจรรย์อยู่เสมอ ทั้งที่มีมาแล้วในอดีต มีอยู่ในปัจจุบัน และก็จะมีต่อไปในอนาคต เรื่องนี้พระอุปัชฌาย์จารย์ทั้งหลายควรต้องนำมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจตนเองว่า อย่าคบเด็กสร้างวัด อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน สุดท้ายมันจะพากันอับจนกันทั้งศิษย์และอาจารย์