xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระวัฒน์”เผยโควิดคิดว่าจบ แต่ก็ไม่จบ ชี้ฉีดวัคซีนซ้ำซากช่วยลดอาการหนักและตาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า คิดว่าจบ แต่ก็ไม่จบ คนไทยต้องตาสว่าง ดูรอบด้าน

1.ตอนแรกเราก็คิดว่าโอไมครอนมาแล้วจบ แต่กลายเป็นว่า BA1 พอจบ ต่อด้วย BA2 ยังไม่ทันจบ มีตัวแทรก คิอ X แบบควบสาย ขี่ข้ามสาย เดลต้ากับโอไมครอน หรือแบบควบกันเองในสายย่อยโอไมครอน ขณะที่ omidelta ขี่ตวบข้ามสายแม้จะเกิดขึ้นแต่ หวังว่าไม่เก่งนัก หวังว่าไม่มี Selective advantage มาก

2.เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า เมื่อใดที่มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งจะส่งเสริมให้ไวรัสมีการปรับตัวไปเรื่อยๆ เกิดสายต่างๆ กัน

3.การติดเชื้อไปแล้ว ฉีดวัคซีนซ้ำซากไปแล้ว ไม่สามารถทำให้เกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่” และไม่สามารถป้องกันการติดซ้ำใหม่ได้

โดยที่แม้จะมีภูมิในประชากรไปมากกว่า 70% ก็ตาม ไม่สามารถสงบการระบาดของโควิดได้ เหมือนกับโรคอื่น ที่เมื่อคนที่มีภูมิ ก็ไม่ติดเชื้อใหม่ ไม่แพร่ต่อ และโรคก็จะสงบไปเอง
(แถลงจาก NIH สหรัฐฯโดย Dr Fauci 31 มีนาคม 2565)

4.ขณะเดียวกัน ทุกคนหวังว่าการติดเชื้อไปก่อนหน้า และการฉีดวัคซีนซ้ำซากถึงแม้จะป้องกันการติดใหม่ไม่ได้ก็ตาม แต่ลดอาการหนักและตาย

แต่ในประเทศเกาหลีใต้ที่มีการฉีดวัคซีนครบและมีเข็มกระตุ้นมหาศาล อัตราอาการหนักและเสียชีวิตสูงมาก
และเช่นเดียวกันจากบทเรียนในปี 2020 ที่พื้นที่ในเขตอเมซอน ที่มีการติดเชื้อตามธรรมชาติที่คิดว่าจะได้ภูมิดีที่สุด เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยน ติดเชื้อใหม่ก็มีอาการรุนแรงและตายเหมือนเดิม

ดังนั้นถ้าจะฉีดวัคซีนต้องพยายามหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงให้มากที่สุดโดยการฉีดเข้าชั้นผิวหนังที่ใช้ปริมาณน้อยกว่า ได้ผลแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะมีกลไกการทำงานต่างกัน

5.การควบคุมขณะนี้ไม่สามารถใช้กลยุทธ์วัคซีนอย่างเดียวได้ต้องควบคู่กับการรักษาที่เข้าถึงได้ทุกคน ทั่วถึงตั้งแต่นาทีแรกที่รู้ว่ามีติดเชื้อ และต้องตระหนักว่ายาที่ใช้ในปัจจุบันที่มีกลไกออกฤทธิ์เดี่ยว ที่ตำแหน่งเดียวของวงจรไวรัส อาจมีประสิทธิภาพลดลงจากรายงานในประเทศต่างๆจึงมียาราคาแพงออกมาตลอดเวลา รวมทั้งการใช้โมโนโคลนัลแอนตี้บอดี้ ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสายพันธุ์

6.ยาบ้านๆ ของไทย และยาถูกพี่หมดสิทธิบัตรแล้วที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก และสามารถใช้ในการป้องกัน และรักษาทันทีเมื่อติด ต้องนำมาพิจารณาอย่างรีบด่วน

การอิงตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ผลิตยาแพงและผลิตวัคซีนอย่างเดียว ต้องหันมาพิจารณาหลักฐาน และข้อมูลในสถานการณ์จริงด้วย

ยาถูกๆ ที่กล่าวว่าใช้ไม่ได้ผล แท้ที่จริงแล้ว ให้ช้าไปหรือไม่แทนที่จะให้ตั้งแต่ต้น กลับให้เมื่อเกิดอาการไปแล้วภายในเจ็ดวันและให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น