GISTDA เปิดเผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) วานนี้ (19 มี.ค.) ว่า พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 351 จุด พบมากที่สุดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 158 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 119 จุด พื้นที่เกษตร 37 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 19 จุด พื้นที่เขตสปก. 15 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 3 จุด
ส่วนจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดนั้น อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน 196 จุด ต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ติดต่อกัน รองลงมาเป็นจังหวัดแพร่ 29 จุด และเชียงใหม่ 17 จุด ตามลำดับ สอดคล้องกับการประเมินพื้นที่เสี่ยงสูงเกิดไฟป่าล่วงหน้า 7 วัน
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจุดความร้อนตั้งแต่ 1 มกราคม -19 มีนาคม 2565 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจุดความร้อนแล้ว 11,609 จุด ตามด้วยภาคเหนือ 10,669 จุด และภาคกลาง 6,086 จุด ตามลำดับ
ส่วนจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดนั้น อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน 196 จุด ต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ติดต่อกัน รองลงมาเป็นจังหวัดแพร่ 29 จุด และเชียงใหม่ 17 จุด ตามลำดับ สอดคล้องกับการประเมินพื้นที่เสี่ยงสูงเกิดไฟป่าล่วงหน้า 7 วัน
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจุดความร้อนตั้งแต่ 1 มกราคม -19 มีนาคม 2565 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจุดความร้อนแล้ว 11,609 จุด ตามด้วยภาคเหนือ 10,669 จุด และภาคกลาง 6,086 จุด ตามลำดับ