นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และการประชุมสหประชาชาติสมัยพิเศษ ผ่านนายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ว่า ไทยมีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ในยูเครน และผลกระทบด้านมนุษยธรรม รวมทั้งเรียกร้องให้มีการแก้ไขสถานการณ์อย่างสันติวิธี ซึ่งไทยสนับสนุนความพยายามในการหาทางยุติสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสันติ ผ่านการเจรจา ที่เป็นไปตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยธำรงไว้ซึ่งหลักการว่าด้วยอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน และสนับสนุนการเรียกร้องของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ในการหาทางยุติเรื่องนี้อย่างสันติวิธี รวมถึงความพยายามของสหประชาชาติและกลไกในระดับภูมิภาค
ทั้งนี้ ไทยชื่นชมเพื่อนบ้านของยูเครน และชาติอื่นๆ สำหรับการระดมความช่วยเหลือไปสู่ผู้ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ไทยจะทำอย่างสุดความสามารถในการที่จะช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของพลเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยจะส่งความช่วยเหลือโดยตรง และผ่านความร่วมมือกับชาติต่างๆ ที่เห็นตรงกัน ไทยสนับสนุนการหยุดยั้งการใช้กำลัง หรือการข่มขู่ว่าจะใช้กำลังต่อรัฐอื่น ดังนั้น จึงเรียกร้องขอให้ยุติความรุนแรงและการใช้อาวุธทันที ยิ่งสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น จะยิ่งส่งผลกระทบต่อโลกในวงกว้าง ซ้ำเติมสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม และผลกระทบต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของคนทั่วโลก ซ้ำเติมการฟื้นตัวจากโควิด-19 ที่ยิ่งเปราะบางอยู่แล้ว ไทยจึงขอเรียกร้องให้มีการเจรจาพูดคุยเพื่อหาข้อยุติที่ยั่งยืน ผ่านองค์การสหประชาชาติ กลไกภูมิภาค หรือกลไกอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับ
ทั้งนี้ สมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นจีเอ ลงมติรับข้อมติในการประชุมวาระพิเศษเร่งด่วน ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 141 เสียง รวมถึงไทย และไม่เห็นด้วย 5 เสียง ได้แก่ เบลารุส เกาหลีเหนือ ซีเรีย เอริเทรีย และรัสเซีย งดออกเสียง 35 เสียง จากทั้งหมด 193 ประเทศ เพื่อยืนยันถึงอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนภายในพรมแดนยูเครน เรียกร้องให้รัสเซียหยุดใช้กำลัง และถอนกองกำลังออกจากยูเครนโดยทันที
ทั้งนี้ ไทยชื่นชมเพื่อนบ้านของยูเครน และชาติอื่นๆ สำหรับการระดมความช่วยเหลือไปสู่ผู้ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ไทยจะทำอย่างสุดความสามารถในการที่จะช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของพลเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยจะส่งความช่วยเหลือโดยตรง และผ่านความร่วมมือกับชาติต่างๆ ที่เห็นตรงกัน ไทยสนับสนุนการหยุดยั้งการใช้กำลัง หรือการข่มขู่ว่าจะใช้กำลังต่อรัฐอื่น ดังนั้น จึงเรียกร้องขอให้ยุติความรุนแรงและการใช้อาวุธทันที ยิ่งสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น จะยิ่งส่งผลกระทบต่อโลกในวงกว้าง ซ้ำเติมสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม และผลกระทบต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของคนทั่วโลก ซ้ำเติมการฟื้นตัวจากโควิด-19 ที่ยิ่งเปราะบางอยู่แล้ว ไทยจึงขอเรียกร้องให้มีการเจรจาพูดคุยเพื่อหาข้อยุติที่ยั่งยืน ผ่านองค์การสหประชาชาติ กลไกภูมิภาค หรือกลไกอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับ
ทั้งนี้ สมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นจีเอ ลงมติรับข้อมติในการประชุมวาระพิเศษเร่งด่วน ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 141 เสียง รวมถึงไทย และไม่เห็นด้วย 5 เสียง ได้แก่ เบลารุส เกาหลีเหนือ ซีเรีย เอริเทรีย และรัสเซีย งดออกเสียง 35 เสียง จากทั้งหมด 193 ประเทศ เพื่อยืนยันถึงอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนภายในพรมแดนยูเครน เรียกร้องให้รัสเซียหยุดใช้กำลัง และถอนกองกำลังออกจากยูเครนโดยทันที