สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,217 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 57 ราย สะสม 2,706 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 717 ราย
2. CLUSTER บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.เมืองชลบุรี 5 ราย สะสม 26 ราย
3. CLUSTER บริษัท แวนด้าแพค จำกัด อ.เมืองชลบุรี 5 ราย สะสม 11 ราย
4. CLUSTER บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 3 ราย สะสม 132 ราย
5. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 15 ราย
6. บุคลากรทางการแพทย์ 28 ราย
7. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 15 ราย ดังนี้
7.1 กทม. 6 ราย
7.2 จังหวัดฉะเชิงเทรา 4 ราย
7.3 จังหวัดสมุทรปราการ 2 ราย
7.4 จังหวัดเชียงใหม่ 1 ราย
7.5 จังหวัดนนทบุรี 1 ราย
7.6 จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 ราย
8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
8.1 ในครอบครัว 222 ราย
8.2 จากสถานที่ทำงาน 166 ราย
8.3 บุคคลใกล้ชิด 69 ราย
8.4 ร่วมวงสังสรรค์ 6 ราย
9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 77 ราย
10. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 549 ราย
ณ วันที่ 3 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 820,690 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 810 คน (อัตราป่วย 98.70 ต่อแสนประชากร) ไม่มีรายงานเสียชีวิต, ใส่ท่อหายใจ 2 ราย (0.24 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 1 ราย (0.12 ต่อแสนประชากร)
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,889,050 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 1,144 คน (อัตราป่วย 60.56 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 2 ราย (0.11 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 1 ราย (0.05 ต่อแสนประชากร), ไม่มีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 97,510 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 342,513 คน รวม 440,023 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 1,594 คน (อัตราป่วย 362.25 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 3 ราย (0.68 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 1 ราย (0.23 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 5 ราย (1.14 ต่อแสนประชากร)
วันนี้พบผู้ป่วยใส่ท่อหายใจรายใหม่ 2 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565, รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเข็มเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564), ผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 3 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนทั้งสามราย), และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 3 ราย (รายที่หนึ่งอายุ 61 ปี, รายที่สองอายุ 65 ปี, รายที่สามอายุ 85 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2564, รายที่สองและรายที่สามไม่พบประวัติการรับวัคซีน), ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น
ขณะนี้มีการระบาดเป็นวงกว้างทั้งจังหวัดชลบุรี ร้านอาหารจำหน่ายสแอลกอฮอล์ ต้องคัดกรองลูกค้าด้วย ATK ทุกคน
ขณะนี้เริ่มมีการระบาดในสถานประกอบการจำนวนมาก พนักงานต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และเคร่งครัดในมาตรการองค์กร
1. เลิกงานไม่สังสรรค์
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่าง การควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม
ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชน ความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ขิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ่นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองไม่ได้ และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี
ค้นให้ตรงเป้า เฝ้าให้ตรงจุด ร่วมใจฉีดวัคซีน สู่โรคประจำถิ่น
1.ค้นให้ตรงเป้า ผู้ที่มีอาการไข้หวัด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่ได้วัคซีนไม่ครบ มีโอกาสเสี่ยงต่อความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ต้องได้รับการตรวจคัดกรองด้วย ATK
2.เฝ้าให้ตรงจุด สถานที่ที่มีกลุ่มเปาะบาง เสี่ยงค่อความรุนแรงหรือเสี่ยงต่อการควบคุมการระบาดได้ยาก หากเกิดการระบาดขึ้น ต้องได้รับการคัดกรองด้วยATK สม่ำเสมอ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานพักพิงคนพิการ ร้านอาหารจำหน่ายแอลกอฮอล์ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่เป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว
3.ร่วมใจฉีดวัคซีน วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 100% แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามมัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประตำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน
4.สู่โรคประจำถิ่น เชื้อโควิด-19 ได้ลดความรุนแรงลง และเข้าเป็นโรคประจำถิ่น ในที่สุด ทุกคนป้องกันตัวเองตามมาตรการ univeral protection ยังคงเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะช่วงที่กำลังมีการระบาดในวงกว้าง เพื่อชลอการระบาดไม่ให้รวดเร็วเกินไป ให้ดำเนินการตามมาตรการ คัดการด้วย ATK ก่อน และสามารถแยกกักที่บ้านได้หากไม่มีอาการและไม่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 เป็นหน้าที่ของทุกคน