น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีนโยบายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน โดยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีมาตรการ หรือจัดโครงการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนได้คล่องตัวมากขึ้น ในวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์นี้ กระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวง เช่น กรมสิทธิเสรีภาพ กรมบังคับคดี และสถานบันการเงิน จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ โดยงานในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนฟ้องและหนี้หลังมีคำพิพากษา ทั้งในส่วน ลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์และหนี้สินครัวเรือนประเภทอื่นๆ โดยประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมเพื่อรับความช่วยเหลือไกล่เกลี่ยหนี้ ให้ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมผ่านแบบฟอร์ม โดยสแกน QR Code เพื่อให้ข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่เตรียมการไกล่เกลี่ย รวมถึงข้อมูลคัดกรองติดโควิด -19 เช่น การได้รับวัคซีน, ผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR
สำหรับมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินฯ ครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอแนวทางการไกล่เกลี่ยหนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยผู้กู้ยืมเงิน กยศ. ที่เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะไม่ถูกดำเนินคดี มีส่วนลดเบี้ยปรับ ได้รับโอกาสในการขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ถึงอายุ 65 ปี รวมถึงปลดผู้ค้ำประกันตามกฎหมาย ในส่วนของชั้นบังคับคดี รวมถึงการลดจำนวนเงินผ่อนชำระหนี้ งดยึดทรัพย์ งดขายทอดตลาด โดยลูกหนี้จะไม่ถูกบังคับคดี ขณะที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน จะได้รับสิทธิส่วนลดปิดบัญชีขั้นต่ำ 20% ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 60 งวด ในส่วนของชั้นบังคับคดี จะได้รับสิทธิส่วนลดปิดบัญชีสูงสุด 100% ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 36 งวด เป็นต้น
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สิน ที่หลังจากนี้หน่วยงานต่างๆ จะมีออกมาอย่างต่อเนื่องจากที่ได้ทยอยมีมาตรการต่างๆ ออกมาก่อนแล้ว อาทิ การขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนเพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเร็วๆ นี้
สำหรับมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินฯ ครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอแนวทางการไกล่เกลี่ยหนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยผู้กู้ยืมเงิน กยศ. ที่เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะไม่ถูกดำเนินคดี มีส่วนลดเบี้ยปรับ ได้รับโอกาสในการขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ถึงอายุ 65 ปี รวมถึงปลดผู้ค้ำประกันตามกฎหมาย ในส่วนของชั้นบังคับคดี รวมถึงการลดจำนวนเงินผ่อนชำระหนี้ งดยึดทรัพย์ งดขายทอดตลาด โดยลูกหนี้จะไม่ถูกบังคับคดี ขณะที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน จะได้รับสิทธิส่วนลดปิดบัญชีขั้นต่ำ 20% ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 60 งวด ในส่วนของชั้นบังคับคดี จะได้รับสิทธิส่วนลดปิดบัญชีสูงสุด 100% ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 36 งวด เป็นต้น
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สิน ที่หลังจากนี้หน่วยงานต่างๆ จะมีออกมาอย่างต่อเนื่องจากที่ได้ทยอยมีมาตรการต่างๆ ออกมาก่อนแล้ว อาทิ การขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนเพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเร็วๆ นี้