ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเจ้าท่า (จท.) แจ้งวันนี้ (20 ก.พ.) ว่า ตามที่ได้มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหลกลางทะเล จ.ระยอง พร้อมการดำเนินคดี การฟื้นฟู เยียวยานั้น ขอชี้แจงว่า เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล บริเวณมาบตาพุด จ.ระยอง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกัน และขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ (กปน.) และ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไข พร้อมสั่งให้กรมเจ้า ท่าและทุกภาคส่วน เร่งขจัดคราบน้ำมันดิบรั่วไหล เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้น้อยที่สุด
สำหรับวันนี้ (20 ก.พ. 65) นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้ประชุมผ่านระบบ Zoom โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งบริษัท SPRC เสนอแผนการนำน้ำมัน ที่คาดว่าคงเหลืออยู่อีก 12,000 ลิตร ออกจากท่อที่เสียหายและพันปิดรอยรั่ว แบ่งการปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ฉีดน้ำยากันรั่วที่บอลวาล์ว 2.ดูดน้ำมันที่คงค้างออกจากท่อ และ 3.พันปิดรอยรั่วทั้ง 2 จุด โดยอุปกรณ์ชนิดพิเศษ ซึ่งการปฏิบัติการทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และจากบริษัทผู้ผลิตท่อส่งน้ำมัน และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ขณะที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกัน และขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ (กปน.) และ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไข พร้อมสั่งให้กรมเจ้า ท่าและทุกภาคส่วน เร่งขจัดคราบน้ำมันดิบรั่วไหล เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้น้อยที่สุด
สำหรับวันนี้ (20 ก.พ. 65) นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้ประชุมผ่านระบบ Zoom โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งบริษัท SPRC เสนอแผนการนำน้ำมัน ที่คาดว่าคงเหลืออยู่อีก 12,000 ลิตร ออกจากท่อที่เสียหายและพันปิดรอยรั่ว แบ่งการปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ฉีดน้ำยากันรั่วที่บอลวาล์ว 2.ดูดน้ำมันที่คงค้างออกจากท่อ และ 3.พันปิดรอยรั่วทั้ง 2 จุด โดยอุปกรณ์ชนิดพิเศษ ซึ่งการปฏิบัติการทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และจากบริษัทผู้ผลิตท่อส่งน้ำมัน และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย