ผศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี ผู้อำนวยการอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) เปิดเผยว่า อุทยานพฤกษศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม “ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร” เพื่อเปิดตัวโดมกระบองเพชร (BOTA CACTUS DOME) ที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นประธานเปิดตัวโดมกระบองเพชรอย่างเป็นทางการ มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ซึ่งเป้าหมายสำคัญในการจัดสร้างโดมกระบองเพชร เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและจัดแสดง พันธุ์ไม้วงศ์กระบองเพชร พืชทนแล้ง พืชอวบน้ำ และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพันธุ์ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้านพันธุ์ไม้ ภายในอุทยานพฤกษศาสตร์ โดยได้รับการออกแบบและจัดสวนโดยบริษัท นงนุชแลนด์สเคป แอนด์ การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ โดมกระบองเพชรแห่งนี้ได้รวบรวมพืชวงศ์กระบองเพชร จำนวน 22 ชนิด พืชอวบน้ำจำนวน 3 ชนิด พืชทนแล้งจำนวน 12 ชนิด รวม 220 ต้น และได้รับการอนุเคราะห์พันธุ์ไม้เพิ่มเติมจากสวนนงนุชพัทยา โดยคุณกัมพล ตันสัจจา มาเพิ่มเติมดังนี้ ต้นมะกอกโอลีฟ จำนวน 1 ต้น พืชวงศ์ปาล์ม จำนวน 34 ชนิด และต้นมะขามเลื้อย 3 ต้น รวม 106 ต้น เพื่อปลูกรวบรวมจัดแสดงสายพันธุ์พืชทนแล้ง และพืชหายากวงศ์ต่างๆ ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพันธุ์ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ เกิดความสวยงาม กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของโดมกระบองเพชรดังกล่าว ทำให้เกิดสุนทรียภาพและดึงดูดผู้เข้าเยี่ยมชมมากขึ้น
ทั้งนี้ โดมกระบองเพชรแห่งนี้ได้รวบรวมพืชวงศ์กระบองเพชร จำนวน 22 ชนิด พืชอวบน้ำจำนวน 3 ชนิด พืชทนแล้งจำนวน 12 ชนิด รวม 220 ต้น และได้รับการอนุเคราะห์พันธุ์ไม้เพิ่มเติมจากสวนนงนุชพัทยา โดยคุณกัมพล ตันสัจจา มาเพิ่มเติมดังนี้ ต้นมะกอกโอลีฟ จำนวน 1 ต้น พืชวงศ์ปาล์ม จำนวน 34 ชนิด และต้นมะขามเลื้อย 3 ต้น รวม 106 ต้น เพื่อปลูกรวบรวมจัดแสดงสายพันธุ์พืชทนแล้ง และพืชหายากวงศ์ต่างๆ ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพันธุ์ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ เกิดความสวยงาม กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของโดมกระบองเพชรดังกล่าว ทำให้เกิดสุนทรียภาพและดึงดูดผู้เข้าเยี่ยมชมมากขึ้น