xs
xsm
sm
md
lg

“หมอยง”ตอบข้อสงสัยเมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนเป็นโอมิครอน ใช้ ATK ตรวจได้หรือไม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ“โควิด-19 การตรวจ ATK กับสายพันธ์โอมิครอน”
ระบุว่า มีคำถามมากกว่า การใช้ ATK เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนมาเป็น "โอมิครอน" จะมีผลต่อผลการตรวจโอมิครอนหรือไม่ ความไวจะลดลงหรือไม่

ต้องทำความเข้าใจในน้ำยาที่ใช้ตรวจ ATK จะตรวจในส่วนของ nucleocapsid ไม่ใช่ตรวจหา spike โปรตีนของไวรัส การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัสจาก อัลฟ่า เดลตา โอมิครอน จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วน spike โปรตีน ในการแยกสายพันธุ์ ส่วนของ nucleocapsid จะไม่เปลี่ยนแปลง

การใช้ ATK ตรวจว่ามีไวรัสหรือไม่ เป็นการตรวจว่ามี nucleocapsid โปรตีน จึง "ไม่มี" ผลกับการตรวจในสายพันธุ์ใหม่ เช่นโอมิครอน

ATK ที่ใช้อยู่เดิม จึงยังใช้ได้อยู่ แม้จะเป็นสายพันธ์ใหม่โอมิครอน