ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า การเก็บภาษีจากการลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีนั้น หลายประเทศมีการเรียกเก็บภาษีจากการลงทุนคริปโตเคอร์เรนซี เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งโดยหลักการแล้ว การเก็บภาษีจากคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นความเสมอภาคเท่าเทียมกับการเก็บภาษีจากการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากเป็นรายได้ประเภทหนึ่ง อีกทั้งผู้ที่มีรายได้จากการลงทุนมักจะเป็นผู้ที่มีฐานะดีกว่ารายได้ประเภทอื่น
อย่างไรก็ดี สินทรัพย์ดิจิทัล หรือเหรียญต่างๆ ที่ซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากไม่ได้ออกโดยผู้ประกอบการในประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่ออกโดยหน่วยงานในต่างประเทศ ซึ่งมองว่าการเก็บภาษีในอัตราที่สอดคล้องเทียบเท่าที่อื่นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งอาจจะต้องสร้างสมดุลระหว่างอัตราภาษีที่จะจัดเก็บภาษี และจะต้องเทียบเคียงกับการลงทุนอื่นด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนคริปโตฯ มี 2 ส่วน ได้แก่ 1. Day trade ซื้อขาย-มีรายได้ทุกวัน ซึ่งในกรณีนี้ สหรัฐฯ มองว่าเป็นรายได้คล้ายกับการทำงาน ซึ่งถูกจัดเก็บภาษีในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้ และ 2.การลงทุนที่ถือยาวเกิน 1 ปี ในสหรัฐฯ มองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งจะนับเป็นอีกอัตราหนึ่งเทียบเท่ากับการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ฉะนั้นการคิดอัตราจะต้องเทียบเคียงว่าตรงไหนคืออัตราที่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี สินทรัพย์ดิจิทัล หรือเหรียญต่างๆ ที่ซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากไม่ได้ออกโดยผู้ประกอบการในประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่ออกโดยหน่วยงานในต่างประเทศ ซึ่งมองว่าการเก็บภาษีในอัตราที่สอดคล้องเทียบเท่าที่อื่นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งอาจจะต้องสร้างสมดุลระหว่างอัตราภาษีที่จะจัดเก็บภาษี และจะต้องเทียบเคียงกับการลงทุนอื่นด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนคริปโตฯ มี 2 ส่วน ได้แก่ 1. Day trade ซื้อขาย-มีรายได้ทุกวัน ซึ่งในกรณีนี้ สหรัฐฯ มองว่าเป็นรายได้คล้ายกับการทำงาน ซึ่งถูกจัดเก็บภาษีในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้ และ 2.การลงทุนที่ถือยาวเกิน 1 ปี ในสหรัฐฯ มองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งจะนับเป็นอีกอัตราหนึ่งเทียบเท่ากับการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ฉะนั้นการคิดอัตราจะต้องเทียบเคียงว่าตรงไหนคืออัตราที่เหมาะสม