xs
xsm
sm
md
lg

นิด้าโพลเผย ปชป.ดีกว่า พปชร.ทุกด้าน สาเหตุชนะเลือกตั้งซ่อมสงขลา-ชุมพร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพร และจังหวัดสงขลา จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง "ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้" เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ชนะ พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ชนะ พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพร ร้อยละ 69.80 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 29.87 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 12.08 ระบุว่า คนชุมพรแสดงออกในความต้องการ "คืนความเป็นธรรมให้อดีต ส.ส. ลูกหมี (ชุมพล จุลใส)" ร้อยละ 11.58 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.38 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.01 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 1.51 ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่ และผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.34 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง และร้อยละ 0.34 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ชนะ พรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา ร้อยละ 71.90 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 29.20 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 9.69 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.64 ระบุว่า ประชาชนไม่พอใจการปราศรัยของเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐชวนเลือกผู้แทนฯ ที่มีเงิน ร้อยละ 6.68 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.46 ระบุว่า ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้ ร้อยละ 2.05 ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่ ร้อยละ 1.64 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 0.55 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ ไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง และร้อยละ 1.36 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ