xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์จีโนมฯ เปิดผลวิจัย"โอมิครอน"รุนแรงน้อยกว่า"เดลตา"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเรื่องความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอนว่า มีโครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่น่าสนใจมากของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention) สามารถตอบโจทย์นี้ได้ โดยทำการศึกษาในกลุ่มประชาชนจำนวน 70,000 คน ที่เข้ามารับการตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่โรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์เดลตา และโอมิครอน พร้อมกัน (Twindemic) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 - 1 มกราคม 2565 เป็นการศึกษาช่วงเวลาเดียวกัน ในรัฐเดียวกันที่มี Clinical Setting เหมือนกัน ทั้งในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนและผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบว่า โอมิครอน มีความรุนแรงในการก่อโรคน้อยกว่าเดลตาอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าผู้ติดเชื้อรายนั้นจะมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติหรือภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ติดเชื้อเดลตาที่ไม่ได้รับวัคซีนจะมีอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 1.07 ต่อคน 1,000 คน ในขณะที่ผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่ไม่ได้รับวัคซีนจะมีอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 0.57 ต่อคน 1,000 คน แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงในการก่อโรคของโอมิครอนที่น้อยกว่าเดลตา มาจากปัจจัยภายใน (intrinsic factor) ของโอมิครอนเองด้วย

ขณะที่ผู้ติดเชื้อเดลตามีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0.08 (14/16,982) ในขณะที่ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0.01 (1/52,967) หรือต่างกัน 8 เท่า

ส่วนระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อโอมิครอน จะสั้นกว่า เดลตา 3.2 วัน