นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมทีมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสรุปผลการทดสอบภูมิคุ้มกันการฉีดวัคซีนที่มีต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน
ข้อมูลที่มีการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้ตัวไวรัสตัวเป็นๆ ไม่ใช่ไวรัสเทียม ที่สามารถเพาะเชื้อได้มากพอในช่วงที่ผ่านมานำมาทดสอบ เป็นการเก็บเลือดหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 สัปดาห์ เป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันมากพอที่จะต่อสู้ได้ หลักการ คือ การเก็บน้ำเลือดของคนที่ได้รับวัคซีนเอามาปั่น และนำลงไปในจานทดลองที่มีเชื้อโอมิครอน เป็นการทดลองจากวัคซีน 8 สูตร ในคนไทย เช่น ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า , แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม , ไฟเซอร์ 2 เข็ม , ซิโนแวค+ไฟเซอร์ , แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่ได้ทดสอบการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม เนื่องจากมีการเปลี่ยนเป็นสูตรไขว้
วัคซีนทุกสูตรมีความจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดอาการหนัก ช่วยลดการเสียชีวิต แต่วัคซีน 2 เข็ม ไม่เพียงพอที่จะสู้กับโอมิครอน ดังนั้น การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยสร้างให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังหาเลือดมาตรวจคนที่ฉีดสูตรไขว้ ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า หรือ ไฟเซอร์ จะเริ่มทดสอบเพื่อดูภูมิคุ้มกันว่าเป็นอย่างไร
กรณีที่ระบุว่า คนที่ติดเชื้อโอมิครอน ภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันเชื้อเดลตาได้ด้วย กำลังทดสอบเพิ่ม เนื่องจากประวัติวัคซีนยังไม่ชัดเจน รอข้อมูลชัดเจนก่อนจะมีการแถลง
ส่วนสูตรการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เดือนมกราคม 2565
- ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า ครบเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 กระตุ้นด้วย แอสตร้าเซนเนก้า เป็นหลัก
- แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ครบเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 กระตุ้นด้วยไฟเซอร์
- ซิโนแวค 2 เข็ม หรือ ซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป กระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า
- ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ฉีดวัคซีนไม่ครบ หรือ ครบตามเกณฑ์น้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนติดเชื้อ กระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า
ทั้งนี้ สามารถใช้สูตรอื่นที่ผ่านการรับรองทางวิชาการได้ ภายใต้จำนวนวัคซีนที่มีในพื้นที่