วันนี้ (6 ม.ค.) รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เปิดเผยความคืบหน้าการฟ้องสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อศาลปกครอง ว่า ได้ถอนฟ้องแล้ว เพราะสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกข้อบังคับ ยกเลิกข้อความที่ขัดต่อเสรีภาพกรณีสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนใหม่แล้ว โดยระบุว่า
เรื่อง การถอนฟ้องสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภายหลังจากที่พวกเรา (255 คน) ได้ร่วมกันจดหมายถึงประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ม. เชียงใหม่ ถึงข้อบังคับการสรรหาอธิการบดีฯ ที่ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งส่วนหนึ่ง (13 คน) ได้ยื่นฟ้องต่อสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้ออกข้อบังคับดังกล่าว
ทางสภามหาวิทยาลัยฯ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ได้มีการออกข้อบังคับ (ฉบับที่ 4) ด้วยการยกเลิกข้อความที่ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นประเด็นสำคัญของข้อพิพาท ข้อบังคับใหม่มีเนื้อความเพียง “ในการเสนอรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีทุกขั้นตอนให้ใช้วิธีปรึกษาหารือ และมิให้ดำเนินการโดยวิธีการเลือกตั้ง” และตัดเนื้อหาเดิมที่บัญญัติว่า “มิให้ดำเนินการโดยวิธีการเลือกตั้งหรือหยั่งเสียง หากปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครหรือผู้ถูกเสนอชื่อรายใดสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือยอมรับวิธีการเลือกตั้งหรือหยั่งเสียง ให้คณะกรรมการตัดชื่อออกจากกระบวนการสรรหา และถ้ามีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยร่วมดำเนินการหรือสนับสนุนก็ให้ถือว่ามีความผิดทางวินัย”
การปรับแก้ดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้ข้อพิพาทที่ทางพวกเราได้โต้แย้งเป็นอันยุติลง เนื่องจากบัดนี้การเสนอความเห็นเกี่ยวกับกับการเลือกตั้งหรือการหยั่งเสียงในการสรรหาอธิการบดีจะไม่ได้เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอีกต่อไป กรณีเช่นนี้ จึงย่อมถือว่าทางสภามหาวิทยาลัยฯ ได้ปรับแก้ข้อบังคับอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่ถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ประเด็นพิพาททั้งหมดจึงยุติลง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการฟ้องคดีที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำที่เพียงต้องการให้กระบวนการสรรหาดำเนินไปอย่างโปร่งใส สุจริต และด้วยการมีส่วนร่วมของประชาคมอย่างกว้างขวาง ทางพวกเราจึงได้ยื่นคำขอถอนฟ้องในวันที่ 6 มกราคม 2565
ทั้งนี้ ด้วยความหวังว่าจะทำให้กระบวนการสรรหาในครั้งนี้ จะสามารถได้บุคคลที่มีความสามารถและมีความรับผิดมาทำหน้าที่อธิการบดีของมหาวิทยาลัย แม้จะเป็นที่น่าเสียใจว่า ทางสภามหาวิทยาลัยฯ กลับมองว่าการกระทำของพวกเราเป็นการ “จงใจใช้สิทธิที่ไม่สุจริต”
อย่างไรก็ตาม พวกเรายังคงยืนยันว่าการแสดงความเห็น การถกเถียงด้วยเหตุผลเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ เฉพาะอย่างยิ่งในประชาคมของมหาวิทยาลัยอันถือเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำ ในกรณีดังกล่าวนี้ เมื่อมีความเห็นอันแตกต่างก็ได้มีการใช้สิทธิตามกระบวนการของกฎหมายอย่างชัดเจน หากยังคงเห็นว่าข้อบังคับที่ประกาศใช้มาเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วเหตุใดจึงได้มีการปรับแก้กันอย่างรวดเร็ว การกระทำเช่นนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นได้ว่าข้อบังคับดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความผิดพลาดอย่างชัดเจน หวังว่าความเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นอันนำมาซึ่งกระบวนการสรรหาอธิการบดีที่โปร่งใส ประชาคมมีส่วนร่วม และเป็นการตัดสินใจที่เปี่ยมไปด้วยเหตุผล
เรื่อง การถอนฟ้องสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภายหลังจากที่พวกเรา (255 คน) ได้ร่วมกันจดหมายถึงประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ม. เชียงใหม่ ถึงข้อบังคับการสรรหาอธิการบดีฯ ที่ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งส่วนหนึ่ง (13 คน) ได้ยื่นฟ้องต่อสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้ออกข้อบังคับดังกล่าว
ทางสภามหาวิทยาลัยฯ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ได้มีการออกข้อบังคับ (ฉบับที่ 4) ด้วยการยกเลิกข้อความที่ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นประเด็นสำคัญของข้อพิพาท ข้อบังคับใหม่มีเนื้อความเพียง “ในการเสนอรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีทุกขั้นตอนให้ใช้วิธีปรึกษาหารือ และมิให้ดำเนินการโดยวิธีการเลือกตั้ง” และตัดเนื้อหาเดิมที่บัญญัติว่า “มิให้ดำเนินการโดยวิธีการเลือกตั้งหรือหยั่งเสียง หากปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครหรือผู้ถูกเสนอชื่อรายใดสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือยอมรับวิธีการเลือกตั้งหรือหยั่งเสียง ให้คณะกรรมการตัดชื่อออกจากกระบวนการสรรหา และถ้ามีผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยร่วมดำเนินการหรือสนับสนุนก็ให้ถือว่ามีความผิดทางวินัย”
การปรับแก้ดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้ข้อพิพาทที่ทางพวกเราได้โต้แย้งเป็นอันยุติลง เนื่องจากบัดนี้การเสนอความเห็นเกี่ยวกับกับการเลือกตั้งหรือการหยั่งเสียงในการสรรหาอธิการบดีจะไม่ได้เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอีกต่อไป กรณีเช่นนี้ จึงย่อมถือว่าทางสภามหาวิทยาลัยฯ ได้ปรับแก้ข้อบังคับอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่ถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ประเด็นพิพาททั้งหมดจึงยุติลง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการฟ้องคดีที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำที่เพียงต้องการให้กระบวนการสรรหาดำเนินไปอย่างโปร่งใส สุจริต และด้วยการมีส่วนร่วมของประชาคมอย่างกว้างขวาง ทางพวกเราจึงได้ยื่นคำขอถอนฟ้องในวันที่ 6 มกราคม 2565
ทั้งนี้ ด้วยความหวังว่าจะทำให้กระบวนการสรรหาในครั้งนี้ จะสามารถได้บุคคลที่มีความสามารถและมีความรับผิดมาทำหน้าที่อธิการบดีของมหาวิทยาลัย แม้จะเป็นที่น่าเสียใจว่า ทางสภามหาวิทยาลัยฯ กลับมองว่าการกระทำของพวกเราเป็นการ “จงใจใช้สิทธิที่ไม่สุจริต”
อย่างไรก็ตาม พวกเรายังคงยืนยันว่าการแสดงความเห็น การถกเถียงด้วยเหตุผลเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ เฉพาะอย่างยิ่งในประชาคมของมหาวิทยาลัยอันถือเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำ ในกรณีดังกล่าวนี้ เมื่อมีความเห็นอันแตกต่างก็ได้มีการใช้สิทธิตามกระบวนการของกฎหมายอย่างชัดเจน หากยังคงเห็นว่าข้อบังคับที่ประกาศใช้มาเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วเหตุใดจึงได้มีการปรับแก้กันอย่างรวดเร็ว การกระทำเช่นนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นได้ว่าข้อบังคับดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความผิดพลาดอย่างชัดเจน หวังว่าความเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นอันนำมาซึ่งกระบวนการสรรหาอธิการบดีที่โปร่งใส ประชาคมมีส่วนร่วม และเป็นการตัดสินใจที่เปี่ยมไปด้วยเหตุผล