ตามที่มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สธ. เตรียมออกมาตรการไปที่สาธารณะ ต้องแสดงหลักฐานฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 เข็มนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมรองอธิบดีกรมอนามัย และผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ร่วมแถลงสถานการณ์โควิด-19 ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนและมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขรองรับการเปิดประเทศ โดยประเทศไทยมี 4 ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้แก่ การเปิดประเทศ การเปิดเรียน การผ่อนคลายให้กิน-ดื่มในร้านอาหารได้ และการรวมตัวทำกิจกรรมต่างๆ ได้จำนวนหนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขจึงมุ่งเน้นการดำเนินงาน 4 ส่วน ได้แก่ 1. V- Vaccine เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยให้ได้ 100 ล้านโดส 2. U- Universal Prevention ให้ประชาชนใช้มาตรการป้องกันตนเองสูงสุด 3. C-COVID Free Setting ร้านค้า/สถานประกอบการใช้มาตรการพื้นที่ปลอดโควิด-19 และ 4. A-ATK ใช้ชุดตรวจคัดกรองเมื่อมีความเสี่ยง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับคนในประเทศ ช่วยให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 และได้ฉลองปีใหม่อย่างมีความสุข
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น ฉีดได้ถึง 85 ล้านโดสแล้ว ตั้งเป้าให้ถึง 100 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยให้หน่วยงานฝ่ายปกครองในพื้นที่สำรวจ ติดตามประชาชนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนให้มาฉีดให้มากที่สุด รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แบ่งเป็นเข็ม 1 จำนวน 8 ล้านโดส เข็ม 2 และ เข็ม 3 รวม 5.8 ล้านโดส ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจะปรับรูปแบบการฉีดวัคซีนให้สะดวกกับประชาชนมากขึ้น เช่น จัดทีมฉีดวัคซีนเชิงรุกให้ผู้สูงอายุ คนติดบ้านติดเตียง จัดสัปดาห์รณรงค์การฉีดวัคซีน เป็นต้น มหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์จะสื่อสารทำความเข้าใจและให้ข้อมูลวัคซีนแก่ประชาชนอย่างถูกต้อง ส่วนผู้ประกอบการจะช่วยจัดระบบป้องกันไม่ให้มีการติดและแพร่เชื้อได้ และดูแลให้พนักงานได้รับวัคซีนครบโดส โดยในส่วนของ ศบค. มีแนวคิดส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาฉีดวัคซีนมากขึ้น โดยอาจพิจารณาเรื่องการแสดงผลการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ในที่สาธารณะ เพื่อความปลอดภัยและถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงอาจเพิ่มมาตรการจูงใจต่างๆ
สำหรับสถานการณ์ประเทศไทยขณะนี้ ภาพรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ยังพบการติดเชื้อต่อเนื่องบางจุด เช่น เรือนจำ กลุ่มแรงงานประมง แคมป์ก่อสร้าง ค่ายฝึกทหาร สถานประกอบการ ตลาด และการจัดพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อลดลงมีส่วนทำให้ประชาชนคลายความกังวลและไม่ไปรับการฉีดวัคซีน จึงขอย้ำให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนรีบมารับการฉีด เพื่อป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตเนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด 19 ได้ สำหรับประชาชนที่ไม่สะดวกเดินทางมาฉีดวัคซีนที่จุดบริการ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ได้รับการฉีดเชิงรุก สำหรับพื้นที่ที่มีการปรับเปลี่ยนมาตรการ ขอให้สถานประกอบการปฏิบัติตาม และศึกษาแนวทางอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมรองอธิบดีกรมอนามัย และผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ร่วมแถลงสถานการณ์โควิด-19 ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนและมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขรองรับการเปิดประเทศ โดยประเทศไทยมี 4 ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้แก่ การเปิดประเทศ การเปิดเรียน การผ่อนคลายให้กิน-ดื่มในร้านอาหารได้ และการรวมตัวทำกิจกรรมต่างๆ ได้จำนวนหนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขจึงมุ่งเน้นการดำเนินงาน 4 ส่วน ได้แก่ 1. V- Vaccine เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยให้ได้ 100 ล้านโดส 2. U- Universal Prevention ให้ประชาชนใช้มาตรการป้องกันตนเองสูงสุด 3. C-COVID Free Setting ร้านค้า/สถานประกอบการใช้มาตรการพื้นที่ปลอดโควิด-19 และ 4. A-ATK ใช้ชุดตรวจคัดกรองเมื่อมีความเสี่ยง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับคนในประเทศ ช่วยให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 และได้ฉลองปีใหม่อย่างมีความสุข
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น ฉีดได้ถึง 85 ล้านโดสแล้ว ตั้งเป้าให้ถึง 100 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยให้หน่วยงานฝ่ายปกครองในพื้นที่สำรวจ ติดตามประชาชนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนให้มาฉีดให้มากที่สุด รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แบ่งเป็นเข็ม 1 จำนวน 8 ล้านโดส เข็ม 2 และ เข็ม 3 รวม 5.8 ล้านโดส ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจะปรับรูปแบบการฉีดวัคซีนให้สะดวกกับประชาชนมากขึ้น เช่น จัดทีมฉีดวัคซีนเชิงรุกให้ผู้สูงอายุ คนติดบ้านติดเตียง จัดสัปดาห์รณรงค์การฉีดวัคซีน เป็นต้น มหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์จะสื่อสารทำความเข้าใจและให้ข้อมูลวัคซีนแก่ประชาชนอย่างถูกต้อง ส่วนผู้ประกอบการจะช่วยจัดระบบป้องกันไม่ให้มีการติดและแพร่เชื้อได้ และดูแลให้พนักงานได้รับวัคซีนครบโดส โดยในส่วนของ ศบค. มีแนวคิดส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาฉีดวัคซีนมากขึ้น โดยอาจพิจารณาเรื่องการแสดงผลการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ในที่สาธารณะ เพื่อความปลอดภัยและถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงอาจเพิ่มมาตรการจูงใจต่างๆ
สำหรับสถานการณ์ประเทศไทยขณะนี้ ภาพรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ยังพบการติดเชื้อต่อเนื่องบางจุด เช่น เรือนจำ กลุ่มแรงงานประมง แคมป์ก่อสร้าง ค่ายฝึกทหาร สถานประกอบการ ตลาด และการจัดพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อลดลงมีส่วนทำให้ประชาชนคลายความกังวลและไม่ไปรับการฉีดวัคซีน จึงขอย้ำให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนรีบมารับการฉีด เพื่อป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตเนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด 19 ได้ สำหรับประชาชนที่ไม่สะดวกเดินทางมาฉีดวัคซีนที่จุดบริการ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ได้รับการฉีดเชิงรุก สำหรับพื้นที่ที่มีการปรับเปลี่ยนมาตรการ ขอให้สถานประกอบการปฏิบัติตาม และศึกษาแนวทางอย่างเคร่งครัด