นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 59,138 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่างรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 35,209 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้รวมกันอีกประมาณ 17,468 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 14,710 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่าง เป็นน้ำใช้การได้ 8,014 ล้าน ลบ.ม.
ด้านสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น ปัจจุบันที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,085 ลบ.ม.วินาที ก่อนไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาที่มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,036 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่า ช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายนนี้ ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจะลดลงเหลือประมาณ 2,000 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำที่ท่วมขังบริเวณพื้นที่ริมตลิ่งทยอยลดลง และคาดการณ์ว่าระดับในทุ่งลุ่มต่ำจะกลับเข้าสู่ตลิ่งประมาณวันที่ 23-25 พฤศจิกายนนี้ ส่วนน้ำที่ยังค้างในทุ่งต่างๆ จะใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกบางส่วน และเก็บกักไว้ให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำใช้สำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งต่อไป
ด้านสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้น ปัจจุบันที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,085 ลบ.ม.วินาที ก่อนไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาที่มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,036 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่า ช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายนนี้ ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจะลดลงเหลือประมาณ 2,000 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำที่ท่วมขังบริเวณพื้นที่ริมตลิ่งทยอยลดลง และคาดการณ์ว่าระดับในทุ่งลุ่มต่ำจะกลับเข้าสู่ตลิ่งประมาณวันที่ 23-25 พฤศจิกายนนี้ ส่วนน้ำที่ยังค้างในทุ่งต่างๆ จะใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกบางส่วน และเก็บกักไว้ให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำใช้สำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งต่อไป