กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์น้ำฝนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในช่วงเดือนกันยายน ถึงตุลาคม 2564 พบว่า แม้บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกมาก แต่ในบางพื้นที่ยังมีปริมาณฝนตกน้อย ทำให้แหล่งน้ำมีปริมาณน้ำกักเก็บน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้ง ประกอบกับรัฐบาลมีความห่วงใยสถานการณ์น้ำของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกมากจนเกิดน้ำท่วม และพื้นที่มีปริมาณ ฝนตกน้อย จึงวางแนวทางแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำอย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ ปภ.กำหนดแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในมิติเชิงพื้นที่ โดยประสานจังหวัดร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจแหล่งน้ำที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการประกอบอาชีพโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยและมีความเหมาะสม ในการใช้เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกลควบคู่กับการสำรวจแหล่งน้ำต้นทางที่มีปริมาณน้ำมาก หรือเพียงพอ รวมถึงวางแผน สูบระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมไปกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อย โดยได้นำร่องสั่งใช้เครื่องสูบน้ำตามความเหมาะสมกับ สภาพพื้นที่สูบน้ำไปกักเก็บในแหล่งน้ำแล้ว รวม 9 จังหวัด ได้แก่เพชรบุรี สมุทรปราการ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สกลนคร กำแพงเพชร ศรีสะเกษ และอุดรธานี
ทั้งนี้ ปภ.กำหนดแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในมิติเชิงพื้นที่ โดยประสานจังหวัดร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจแหล่งน้ำที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการประกอบอาชีพโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยและมีความเหมาะสม ในการใช้เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกลควบคู่กับการสำรวจแหล่งน้ำต้นทางที่มีปริมาณน้ำมาก หรือเพียงพอ รวมถึงวางแผน สูบระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมไปกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อย โดยได้นำร่องสั่งใช้เครื่องสูบน้ำตามความเหมาะสมกับ สภาพพื้นที่สูบน้ำไปกักเก็บในแหล่งน้ำแล้ว รวม 9 จังหวัด ได้แก่เพชรบุรี สมุทรปราการ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สกลนคร กำแพงเพชร ศรีสะเกษ และอุดรธานี