เพจเฟซบุ๊กองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ระบุว่า งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้? “เมื่อสังคมขยับ วัฒนธรรมต้องปรับ คนต้องเปลี่ยน"
วัฒนธรรมศักดินา อภิสิทธิ์ชน และค่านิยมความงาม คือ ภาพที่ยังคงสะท้อนและฉายซ้ำแฝงตัวอยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือ “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์” กิจกรรมและวัฒนธรรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมกันสืบสานมาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งยังคงสะท้อนและฉายซ้ำภาพของสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้จะมีความพยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเสมอมา แต่การปรับเปลี่ยนนั้นทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็น “งานของทุกคน” และ “แบบอย่าง” ของสังคมปัจจุบัน แล้วจริงหรือ?
ขอเชิญชาวธรรมศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ"อนาคตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์" ได้ที่: https://bit.ly/3nwEQtZ เพราะงานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมาจากเจตนารมณ์ของประชาคมธรรมศาสตร์ทุกคน งานบอลคือเสียงของธรรมศาสตร์ทุกคน เราได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากการถกเถียงในวงสังคมมาให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นดังนี้
- งานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมีต่อไปหรือไม่?
- ถ้ายังมีต่อไปควรจะเป็นไปในรูปแบบเดิมหรือมีความเปลี่ยนแปลง?
- ควรใช้วิธีอื่นแทนการใช้คนแบกเสลี่ยงในขบวนตรามหาวิทยาลัยหรือไม่?
- นักฟุตบอลควรเป็นนักศึกษาปัจจุบันหรือไม่?
- ทบทวนประเด็น Beauty Privillege และ Beauty Standard อย่างจริงจัง
- เพิ่มพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองในขบวนพาเหรดและการแปรอักษร
- ทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออกอย่างอิสระ
- นักศึกษาปัจจุบันต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ
-ยกเลิกถ้วยพระราชทานและการเปิดงานโดยผู้แทนพระองค์
- บทบาทของสมาคมศิษย์เก่าภายในงานฟุตบอลประเพณีฯ
หากท่านมีประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ สามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ โดยเราจะรวบรวมความคิดเห็นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมต่อไป
หมายเหตุ: ข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาใช้เพื่อยืนยันตัวตนของนักศึกษาเท่านั้นและจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์อื่น