กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ "เตี้ยนหมู่" ในช่วงวันที่ 23 กันยายน – 9 ตุลาคม 2564 เกิดอุทกภัยใน 33 จังหวัด ขณะนี้สถานการณ์แล้ว 16 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 17 จังหวัด หลายพื้นที่ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ขณะที่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาระดับน้ำยังทรงตัว ทั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย อยู่ในลพบุรี 6 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย และชัยนาท 1 ราย
สำหรับจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์น้ำท่วม ได้แก่
1. สุโขทัย ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ ระดับน้ำลดลง และอำเภอเมืองสุโขทัย ระดับน้ำทรงตัว
2. พิษณุโลก ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม ระดับน้ำลดลง และอำเภอบางระกำ ระดับน้ำทรงตัว
3. ขอนแก่น ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ อำเภอหนองเรือ อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอโนนศิลา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น ระดับน้ำยังสูง
4. มหาสารคาม มวลน้ำจากจังหวัดขอนแก่นไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และเมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
5. ชัยภูมิ ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง
6. นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอคง อำเภอจักราช อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอชุมพวง และอำเภอเมืองยาง ระดับน้ำลดลง จังหวัดตั้งจุดอพยพในอำเภอโนนสูงและอำเภอแก้งานามนาง ผู้อพยพ 47 คน
7. อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารนิชำราบ ระดับน้ำลดลง จังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว จํานวน 16 จุด ผู้อพยพ 2,004 คน
8. นครสวรรค์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี และอำเภอโกรกพระ ระดับน้ำลดลง
9. อุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี ระดับน้ำลดลง จังหวัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว จํานวน 2 จุด ผู้อพยพ 28 คน
10. ชัยนาท ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอสรรพยา ระดับน้ำทรงตัว
11. ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านหมี่ อำเภอพัฒนานิคม และอำเภอโคกสําโรง ระดับน้ำลดลง
12. สระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ และอำเภอดอนพุด) ระดับน้ำลดลง จังหวัดตั้งจุดอพยพ 6 จุด ผู้อพยพ 233 คน
13. สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำทรงตัว
14. สิงห์บุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง ระดับน้ำทรงตัว
15. อ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกเขตคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว
16. พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน และอำเภอมหาราช ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย คลองโผงเผง และคลองบางบาล ซึ่งอยู่นอกเขตคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว
17. ปทุมธานี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ขณะที่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีระดับน้ำยังทรงตัว
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิอาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้เร่งระบายน้ำและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้วได้ประสานให้เร่งสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
ประชาชนที่ประสบภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID : @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง