นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global Ratings (S&P) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยยังเป็นระดับเดียวกับปี 2563 ซึ่งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะเติบโต (GDP Growth) ประมาณร้อยละ 1.1 และในช่วงปี 2565-2567 ร้อยละ 3.6 ต่อปีด้วย
ทั้งนี้ รายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global Ratings (S&P) ได้เผยแพร่รายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย เมื่อวานนี้ ( 4 ตุลาคม 2564) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2563 สาระสำคัญ ดังนี้
1. ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance มีความเข้มแข็ง แม้ว่าไทยจะขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564-2565 และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น จากการดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ S&P คาดว่า ปีนี้ GDP จะเติบโตที่ประมาณร้อยละ 1.1 และในช่วงปี 2565-2567 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.6 ต่อปี จากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 และประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ที่ระดับเดิมก่อนเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จากการที่รัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน (PPP) ที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐและเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ
2. ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ไทยมีสภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และสภาพคล่องต่างประเทศ (External Liquidity) ของไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล รวมทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคายังเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
อย่างไรก็ตาม S&P จะติดตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นรูปธรรม รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง
ทั้งนี้ รายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global Ratings (S&P) ได้เผยแพร่รายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย เมื่อวานนี้ ( 4 ตุลาคม 2564) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2563 สาระสำคัญ ดังนี้
1. ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance มีความเข้มแข็ง แม้ว่าไทยจะขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564-2565 และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น จากการดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ S&P คาดว่า ปีนี้ GDP จะเติบโตที่ประมาณร้อยละ 1.1 และในช่วงปี 2565-2567 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.6 ต่อปี จากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 และประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ที่ระดับเดิมก่อนเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จากการที่รัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน (PPP) ที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐและเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ
2. ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ไทยมีสภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และสภาพคล่องต่างประเทศ (External Liquidity) ของไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล รวมทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคายังเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
อย่างไรก็ตาม S&P จะติดตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นรูปธรรม รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง