นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊ก Warong Dechgitvigrom ระบุว่า นายกต้องทำให้ชัดเจนถูกต้องก่อนทูลเกล้า
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากบัตรใบเดียวเป็นบัตรสองใบ ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ยังสร้างความกังขาของประชาชน นั่นคือร่างที่เสนอแก้ไขมีเพียง 2 มาตรา คือมาตรา 83 และมาตรา 91 แต่ในรายละเอียด กลายเป็นแก้ไข 3 มาตรา นั่นคือแก้ไขมาตรา 86 เพิ่มขึ้น
.
คำถามที่ประชาชนคาใจคือ มาตราที่ไม่ได้ขอแก้จะแก้ได้ไหม ทุกอย่างต้องทำให้ชัดเจน ถูกต้อง ก่อนนำขึ้นทูลเกล้า เพราะ
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ด้วยหลักที่เสนอแล้ว เสนอแก้มาตราไหน ต้องแก้ได้มาตรานั้น ถ้าทุกอย่างยอมให้ผ่านไป จะทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา ในอนาคตก็จะมีการแก้ไขมาตราที่ไม่ได้เสนอแก้ หรือเสนอให้แก้มาตราเดียว แล้วโยงไปแก้มาตราอื่นๆ ด้วยเหตุผลความเกี่ยวเนื่องกัน และอ้างสิ่งที่เคยทำของครั้งนี้
2. เนื่องจากกระบวนการแก้ไขที่ไม่ตรงไปตรงมาเช่นนี้ ไม่ทำให้ชัดเจนถูกต้องเสียก่อน แต่ไปนำขึ้นทูลเกล้า ถ้าหากมีการตีกลับเพราะกระบวนการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท เพราะปัญหาตามที่กล่าว
ขอเรียกร้องท่านนายกพลเอกประยุทธ์ ท่านต้องใช้อำนาจของท่านตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256(7) ประกอบ 81 มาตรา 145 และมาตรา 148(2) นั่นคือเป็นการตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัตของรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐสภาไปแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 86 ที่ไม่ได้เสนอขอแก้ไขไว้
จึงขอให้ท่านนายกใช้อำนาจของท่าน ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสียก่อนว่า การกระทำของรัฐสภาดังกล่าวนั้น ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะได้ไม่เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และเป็นบรรทัดฐานในการแก้ไขกฎหมายสูงสุดของชาติ ต่อไปในอนาคต
โปรดเอาชนะความเท็จด้วยความจริง ความชั่วด้วยความดี ความไม่ถูกต้องด้วยความถูกต้อง
วันนี้ 15 กันยายน เวลา 11.30 น. ผมจะไลฟ์อธิบายเรื่องนี้ ผ่านเพจ Warong Dechgitvigrom และเพจไทยภักดี
วันที่ 16 กันยายน เวลา 10.30 น. จะนำหนังสือไปยื่นเรียกร้องท่านนายก ต้องทำให้ชัดเจนถูกต้องก่อนนำทูลเกล้า
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากบัตรใบเดียวเป็นบัตรสองใบ ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ยังสร้างความกังขาของประชาชน นั่นคือร่างที่เสนอแก้ไขมีเพียง 2 มาตรา คือมาตรา 83 และมาตรา 91 แต่ในรายละเอียด กลายเป็นแก้ไข 3 มาตรา นั่นคือแก้ไขมาตรา 86 เพิ่มขึ้น
.
คำถามที่ประชาชนคาใจคือ มาตราที่ไม่ได้ขอแก้จะแก้ได้ไหม ทุกอย่างต้องทำให้ชัดเจน ถูกต้อง ก่อนนำขึ้นทูลเกล้า เพราะ
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ด้วยหลักที่เสนอแล้ว เสนอแก้มาตราไหน ต้องแก้ได้มาตรานั้น ถ้าทุกอย่างยอมให้ผ่านไป จะทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา ในอนาคตก็จะมีการแก้ไขมาตราที่ไม่ได้เสนอแก้ หรือเสนอให้แก้มาตราเดียว แล้วโยงไปแก้มาตราอื่นๆ ด้วยเหตุผลความเกี่ยวเนื่องกัน และอ้างสิ่งที่เคยทำของครั้งนี้
2. เนื่องจากกระบวนการแก้ไขที่ไม่ตรงไปตรงมาเช่นนี้ ไม่ทำให้ชัดเจนถูกต้องเสียก่อน แต่ไปนำขึ้นทูลเกล้า ถ้าหากมีการตีกลับเพราะกระบวนการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท เพราะปัญหาตามที่กล่าว
ขอเรียกร้องท่านนายกพลเอกประยุทธ์ ท่านต้องใช้อำนาจของท่านตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256(7) ประกอบ 81 มาตรา 145 และมาตรา 148(2) นั่นคือเป็นการตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัตของรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐสภาไปแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 86 ที่ไม่ได้เสนอขอแก้ไขไว้
จึงขอให้ท่านนายกใช้อำนาจของท่าน ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสียก่อนว่า การกระทำของรัฐสภาดังกล่าวนั้น ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะได้ไม่เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และเป็นบรรทัดฐานในการแก้ไขกฎหมายสูงสุดของชาติ ต่อไปในอนาคต
โปรดเอาชนะความเท็จด้วยความจริง ความชั่วด้วยความดี ความไม่ถูกต้องด้วยความถูกต้อง
วันนี้ 15 กันยายน เวลา 11.30 น. ผมจะไลฟ์อธิบายเรื่องนี้ ผ่านเพจ Warong Dechgitvigrom และเพจไทยภักดี
วันที่ 16 กันยายน เวลา 10.30 น. จะนำหนังสือไปยื่นเรียกร้องท่านนายก ต้องทำให้ชัดเจนถูกต้องก่อนนำทูลเกล้า