วันนี้ (19 ส.ค.) นายยู่สิน จินตภากร รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาลนครยะลา นำนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนงานช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 30 คน ร่วมโครงการในช่วงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด และโรงเรียน สถานศึกษา ยังไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ลงพื้นที่ชุมชนตลาดเก่า ในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่พบการติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนตัวเลขยังสูงอยู่ เดินเคาะประตูบ้าน ตามมาตกรการเชิงรุก สำรวจข้อมูลการฉีดวัคซีนของประชาชนทุกครัวเรือน พร้อมทั้งแนะนำให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน และทำการจองผ่านระบบเทศบาลนครยะลา
นายยู่สิน จินตภากร รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดยะลา ได้แต่งตั้งให้เทศบาลนครยะลา เป็นคณะกรรมการจุดลงทะเบียนฉีดวัคซีน ดังนั้นการเปิดจุดคัดกรองตรวจเชื้อ ด้วยชุดตรวจเชื้อแอนติเจน หรือ ATK (Antigen Test Kit) เพียงจุดเดียว คงไม่ทันในมาตรการเชิงรุก เพราะประชาชนมาใช้บริการตรวจเชื้อจำนวนน้อย ดังนั้นทางเทศบาลนครยะลา ได้ผุดโครงการดึงนักศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ในสถานการณ์โควิด-19 สมัครเข้าร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนงานช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำหน้าที่ปูพรมเคาะประตูตามบ้านเรือนต่างๆ ในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา สำรวจสอบถามข้อมูลการฉีดวัคซีนภายในครัวเรือน พร้อมทั้งแนะนำการจองวัคซีน สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จะได้รับทราบข้อมูลเชิงในลึกว่า เพราะอะไรประชาชนถึงยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งทางเทศบาลนครยะลาจะได้เร่งดำเนินการ ฉีดวัคซีนประชาชนในพื้นที่ให้ครอบคลุม ร้อยละ 70สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ สิ่งสำคัญ คือการเปิดเมืองให้เร็วขึ้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่
ทางด้านนางสาวนริสา โดยสมาน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ชุมชนตลาเก่า ในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง ที่ยังพบการติดเชื้ออยู่ ประชาชนบางครัวเรือนยังไม่รู้ว่าจองวัคซีนยังไง และฉีดทำไม การตอบรับที่นี่ มีบ้างบางส่วนที่ยังไม่อยากฉีด ก็ได้แนะนำถึงข้อดีของวัคซีน ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง และคนรอบข้าง รวมถึงครอบครัว
นายยู่สิน จินตภากร รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดยะลา ได้แต่งตั้งให้เทศบาลนครยะลา เป็นคณะกรรมการจุดลงทะเบียนฉีดวัคซีน ดังนั้นการเปิดจุดคัดกรองตรวจเชื้อ ด้วยชุดตรวจเชื้อแอนติเจน หรือ ATK (Antigen Test Kit) เพียงจุดเดียว คงไม่ทันในมาตรการเชิงรุก เพราะประชาชนมาใช้บริการตรวจเชื้อจำนวนน้อย ดังนั้นทางเทศบาลนครยะลา ได้ผุดโครงการดึงนักศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ในสถานการณ์โควิด-19 สมัครเข้าร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนงานช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำหน้าที่ปูพรมเคาะประตูตามบ้านเรือนต่างๆ ในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา สำรวจสอบถามข้อมูลการฉีดวัคซีนภายในครัวเรือน พร้อมทั้งแนะนำการจองวัคซีน สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จะได้รับทราบข้อมูลเชิงในลึกว่า เพราะอะไรประชาชนถึงยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งทางเทศบาลนครยะลาจะได้เร่งดำเนินการ ฉีดวัคซีนประชาชนในพื้นที่ให้ครอบคลุม ร้อยละ 70สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ สิ่งสำคัญ คือการเปิดเมืองให้เร็วขึ้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่
ทางด้านนางสาวนริสา โดยสมาน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ชุมชนตลาเก่า ในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง ที่ยังพบการติดเชื้ออยู่ ประชาชนบางครัวเรือนยังไม่รู้ว่าจองวัคซีนยังไง และฉีดทำไม การตอบรับที่นี่ มีบ้างบางส่วนที่ยังไม่อยากฉีด ก็ได้แนะนำถึงข้อดีของวัคซีน ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง และคนรอบข้าง รวมถึงครอบครัว