สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย ครั้งที่ 2 ของปี เริ่มจากเหนือสุดของประเทศ จากนั้นเปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนลงทางใต้เรื่อยๆ จนกระทั่งวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับกรุงเทพมหานคร เวลา 12.22 น. หากยืนกลางแดดช่วงเวลาดังกล่าว เงาของร่างกายจะตกอยู่ใต้เท้าพอดี
ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ในหนึ่งปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่ดังกล่าวถึง 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และกรกฎาคม-กันยายน โดยจะมีคาบการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจึงเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกัน ดูข้อมูลปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ครั้งที่ 2 ของแต่ละจังหวัดได้ที่ https://www.narit.or.th/index.php/news/1696-sun-77-2564
การที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ แต่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสมในบรรยากาศ ฯลฯ วันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากจึงอาจไม่ใช่วันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเสมอไป
ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ในหนึ่งปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่ดังกล่าวถึง 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และกรกฎาคม-กันยายน โดยจะมีคาบการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจึงเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกัน ดูข้อมูลปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ครั้งที่ 2 ของแต่ละจังหวัดได้ที่ https://www.narit.or.th/index.php/news/1696-sun-77-2564
การที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ แต่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสมในบรรยากาศ ฯลฯ วันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากจึงอาจไม่ใช่วันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเสมอไป