นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ออกประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ประกาศเพิ่มพื้นที่สีแดงเป็น 29 จังหวัด เพื่อคงความเข้มข้นของมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและสอบสวนโรค รวมทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตของประชาชนและสาธารณสุขของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
ทั้งนี้ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมประมงช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เกษตรกร ชาวประมง ผู้ประกอบการ ในการดำเนินการตามกระบวนงานต่างๆ ตลอดห่วงโซ่การผลิต ภายใต้ความปลอดภัยของตัวเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อเป็นการป้องกันและลดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งนายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง ได้เน้นย้ำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ด่านหน้าของกรมประมงที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบเรือประมงหน้าท่าเทียบเรือที่ปฏิบัติงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (Port In Port Out Controlling Center : PIPO) ดำเนินการด้วยความเข้มแข็งและเข้มงวดในการปฏิบัติตนตามมาตรการสาธารณสุข และได้มีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมเจ้าท่า กรมการจัดหางานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติในการตรวจสอบเรือประมงที่แจ้งเข้า - ออก หน้าท่าเทียบเรือ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีกระบวนการดำเนินการ ใน 4 รูปแบบ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตามสถานการณ์การระบาดของโรคในแต่ละวัน ภายใต้ประกาศของคณะกรรมการโรคติดต่อของแต่ละจังหวัด โดยได้มีการบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย
อย่างไรก็ตาม การดำเนินแนวทางดังที่กล่าวมานั้น จะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดการเดินทางมาติดต่อราชการ เพื่อลดความแออัด ลดความเสี่ยงการเกิดโรค ไม่ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ หรือละเมิดกฎหมายที่กำหนดเวลาให้ปฏิบัติ และที่สำคัญเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบเรือประมงที่ต้องแจ้งเข้า-ออกท่าเทียบเรือประมง ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 เพื่อป้องกันการทำการประมงผิดกฎหมายด้วย
ทั้งนี้ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมประมงช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เกษตรกร ชาวประมง ผู้ประกอบการ ในการดำเนินการตามกระบวนงานต่างๆ ตลอดห่วงโซ่การผลิต ภายใต้ความปลอดภัยของตัวเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อเป็นการป้องกันและลดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งนายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง ได้เน้นย้ำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ด่านหน้าของกรมประมงที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบเรือประมงหน้าท่าเทียบเรือที่ปฏิบัติงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (Port In Port Out Controlling Center : PIPO) ดำเนินการด้วยความเข้มแข็งและเข้มงวดในการปฏิบัติตนตามมาตรการสาธารณสุข และได้มีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมเจ้าท่า กรมการจัดหางานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติในการตรวจสอบเรือประมงที่แจ้งเข้า - ออก หน้าท่าเทียบเรือ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีกระบวนการดำเนินการ ใน 4 รูปแบบ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตามสถานการณ์การระบาดของโรคในแต่ละวัน ภายใต้ประกาศของคณะกรรมการโรคติดต่อของแต่ละจังหวัด โดยได้มีการบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย
อย่างไรก็ตาม การดำเนินแนวทางดังที่กล่าวมานั้น จะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดการเดินทางมาติดต่อราชการ เพื่อลดความแออัด ลดความเสี่ยงการเกิดโรค ไม่ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ หรือละเมิดกฎหมายที่กำหนดเวลาให้ปฏิบัติ และที่สำคัญเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบเรือประมงที่ต้องแจ้งเข้า-ออกท่าเทียบเรือประมง ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 เพื่อป้องกันการทำการประมงผิดกฎหมายด้วย