นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรคระบาดปศุสัตว์ โดยเฉพาะโรคลัมปีสกิน ที่แพร่ระบาดในโค กระบือ และโรคระบาดอื่นๆ ที่ระบาดในสุกร ซึ่งกระจายในทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 62 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจด้านปศุสัตว์ ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรมีรายได้ลดลงจนไม่สามารถส่งชำระหนี้ได้ตามกำหนด ทาง ธ.ก.ส. จึงดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดปศุสัตว์ ปี 2564 (ผู้เลี้ยงโค กระบือ และสุกร) ทั้งในส่วนของเกษตรกรลูกค้ารายคน วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมีหนี้คงเหลือ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 และมีงวดชำระในปีบัญชี 2564 (งวดเดือนเมษายน 2564 - มีนาคม 2565) ไม่รวมหนี้ในโครงการนโยบายรัฐ โดยแจ้งเหตุความเสียหายจากสถานการณ์ดังกล่าวต่อสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและนำเอกสารจากสำนักงานปศุสัตว์ (กษ.01 หรือ กษ.02) มายื่นที่ ธ.ก.ส. สาขาที่เป็นลูกค้า
สำหรับมาตรการช่วยเหลือกรณีที่มีหนี้วงเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ธ.ก.ส. จะขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันครบกำหนดชำระหนี้เดิม และกรณีเงินกู้เพื่อเป็นค่าลงทุน จะทำการทบทวนกระแสเงินสดและปรับตารางการชำระหนี้ใหม่ให้สอดคล้องกับที่มาแห่งรายได้ของลูกค้า รวมทั้งลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เหลืออัตราร้อยละ 0 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีวงเงินให้ความช่วยเหลือ กรณีประเมินความเสียหายเกินร้อยละ 50 วงเงินช่วยเหลือเท่ากับต้นเงินกู้คงเหลือ หากเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท วิสาหกิจชุมชนสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีประเมินความเสียหายไม่เกินร้อยละ 50 วงเงินช่วยเหลือครึ่งหนึ่งของต้นเงินกู้คงเหลือ หากเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท วิสาหกิจชุมชนสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท เกษตรกรลูกค้า วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบปัญหาสามารถยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
สำหรับมาตรการช่วยเหลือกรณีที่มีหนี้วงเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ธ.ก.ส. จะขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันครบกำหนดชำระหนี้เดิม และกรณีเงินกู้เพื่อเป็นค่าลงทุน จะทำการทบทวนกระแสเงินสดและปรับตารางการชำระหนี้ใหม่ให้สอดคล้องกับที่มาแห่งรายได้ของลูกค้า รวมทั้งลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เหลืออัตราร้อยละ 0 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีวงเงินให้ความช่วยเหลือ กรณีประเมินความเสียหายเกินร้อยละ 50 วงเงินช่วยเหลือเท่ากับต้นเงินกู้คงเหลือ หากเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท วิสาหกิจชุมชนสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีประเมินความเสียหายไม่เกินร้อยละ 50 วงเงินช่วยเหลือครึ่งหนึ่งของต้นเงินกู้คงเหลือ หากเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท วิสาหกิจชุมชนสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท เกษตรกรลูกค้า วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบปัญหาสามารถยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ