พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ขอให้ยกเลิกข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 29) โดยระบุว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดตามความมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 29) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยมีเนื้อหาห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือ สื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและยังกำหนดต่อไปว่า กรณีมีการเผยแพร่ ทางอินเทอร์เน็ตให้สำนักงาน กสทช. แจ้งผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตตรวจสอบ IP Address ของผู้นั้น และให้ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้นั้นได้ทันที นั้น
พรรคเพื่อไทยเห็นว่าข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นการละเมิด ต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข้อมูล ข่าวสาร และเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างร้ายแรง กล่าวคือ
1. การออกข้อกำหนดดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 วรรคแรก แต่การจำกัดการเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน และการจำกัดเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจะทำให้การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ยุติลงโดยเร็วหรือไม่ให้โรคระบาดรุนแรงขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น การออกข้อกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
2. ข้อความที่ว่าห้ามเสนอข่าวที่มีข้อความอันทำให้ประชาชนเกิดความกลัว นั้น มีความหมายไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรวัดใดที่จะใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานได้ ข้อความข้างต้นจึงขาด ความชัดเจนแน่นอน ปล่อยให้เกิดการใช้ดุลพินิจและการเลือกปฏิบัติได้ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการตรากฎหมายและยังเป็นการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนและเสรีภาพของประชาชนเกินสมควรแก่เหตุอันขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย
3. ข้อกำหนดที่ให้อำนาจแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตรวจสอบและวินิจฉัยว่า การเสนอข้อมูลข่าวสารของบุคคลใดเป็นการต้องห้ามตามข้อกำหนดหรือไม่ และให้อำนาจในการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้นั้น เป็นการมอบอำนาจให้องค์กรเอกชนซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้วินิจฉัยว่าบุคคลใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดหรือไม่ ผิดหลักการ ของกฎหมายมหาชน และการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรง เพราะอำนาจการวินิจฉัยว่าผู้ใดกระทำความผิดและต้องระงับการใช้อินเทอร์เน็ตควรเป็นอำนาจของศาลหรือ กสทช.ตามกรอบที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น
4. เหตุผลของการออกข้อกำหนดระบุไว้ชัดเจนว่า "โดยที่มีการเผยแพร่โดยทั่วไปซึ่งข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ประชาชนเกิดความกลัว หรือข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน..." ดังนั้น หากจะออกข้อกำหนดดังกล่าวจะต้องจำกัดการเสนอข่าวว่าต้องเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จเท่านั้น การเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงไม่ควรถูกห้ามไปด้วย การออกข้อกำหนดเพื่อเอาผิดกับผู้ที่พูดความจริงจึงมีเจตนาเพื่อปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน
5. เมื่อพิจารณาเหตุผลเบื้องหลังของการออกข้อกำหนดนี้จะเห็นได้ว่า รัฐบาล และ ศบค. บริหารงานล้มเหลวในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากทุกภาคส่วน จนกระทบต่อสถานะการดำรงอยู่ของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ส่วนสื่อมวลชนก็ไม่ปรากฏว่ามีสื่อสำนักใดเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จึงเห็นได้ว่า เหตุผลที่แท้จริงในการออกข้อกำหนดนี้มิได้เกี่ยวกับความจำเป็นที่จะทำให้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยุติลงโดยเร็ว หรือ เพื่อป้องกันมิให้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวรุนแรงขึ้นตามเงื่อนไขของกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการโดยมีเหตุผลทางการเมืองแอบแฝงโดยมิได้คำนึงว่าการกระทำเช่นนี้ จะไปจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนอย่างไร
6. การแก้ไขปัญหาและต่อสู้กับโรคระบาดร้ายแรงเช่นนี้มีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจสถานการณ์และรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดอย่างรอบด้าน เพื่อให้ทั้งภาครัฐและประชาชนเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะสามารถเห็นถึงปัญหาและประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง ตรงกับสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น การระงับ ยับยั้ง หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อเท็จจริงด้วยการ ออกข้อกำหนดดังกล่าว นอกจากจะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบต่อการระดมความร่วมมือของประชาชนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาด้วย
พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีจะต้องออกข้อกำหนดนี้ และการออกข้อกำหนดก็ขัดต่อรัฐธรรมนูญและไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ พรรคจึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกข้อกำหนดฉบับนี้เสีย
จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
พรรคเพื่อไทยเห็นว่าข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นการละเมิด ต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข้อมูล ข่าวสาร และเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างร้ายแรง กล่าวคือ
1. การออกข้อกำหนดดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 วรรคแรก แต่การจำกัดการเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน และการจำกัดเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจะทำให้การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ยุติลงโดยเร็วหรือไม่ให้โรคระบาดรุนแรงขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น การออกข้อกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
2. ข้อความที่ว่าห้ามเสนอข่าวที่มีข้อความอันทำให้ประชาชนเกิดความกลัว นั้น มีความหมายไม่ชัดเจน ไม่มีมาตรวัดใดที่จะใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานได้ ข้อความข้างต้นจึงขาด ความชัดเจนแน่นอน ปล่อยให้เกิดการใช้ดุลพินิจและการเลือกปฏิบัติได้ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการตรากฎหมายและยังเป็นการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนและเสรีภาพของประชาชนเกินสมควรแก่เหตุอันขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย
3. ข้อกำหนดที่ให้อำนาจแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตรวจสอบและวินิจฉัยว่า การเสนอข้อมูลข่าวสารของบุคคลใดเป็นการต้องห้ามตามข้อกำหนดหรือไม่ และให้อำนาจในการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้นั้น เป็นการมอบอำนาจให้องค์กรเอกชนซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้วินิจฉัยว่าบุคคลใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดหรือไม่ ผิดหลักการ ของกฎหมายมหาชน และการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรง เพราะอำนาจการวินิจฉัยว่าผู้ใดกระทำความผิดและต้องระงับการใช้อินเทอร์เน็ตควรเป็นอำนาจของศาลหรือ กสทช.ตามกรอบที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น
4. เหตุผลของการออกข้อกำหนดระบุไว้ชัดเจนว่า "โดยที่มีการเผยแพร่โดยทั่วไปซึ่งข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ประชาชนเกิดความกลัว หรือข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน..." ดังนั้น หากจะออกข้อกำหนดดังกล่าวจะต้องจำกัดการเสนอข่าวว่าต้องเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จเท่านั้น การเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงไม่ควรถูกห้ามไปด้วย การออกข้อกำหนดเพื่อเอาผิดกับผู้ที่พูดความจริงจึงมีเจตนาเพื่อปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน
5. เมื่อพิจารณาเหตุผลเบื้องหลังของการออกข้อกำหนดนี้จะเห็นได้ว่า รัฐบาล และ ศบค. บริหารงานล้มเหลวในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากทุกภาคส่วน จนกระทบต่อสถานะการดำรงอยู่ของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ส่วนสื่อมวลชนก็ไม่ปรากฏว่ามีสื่อสำนักใดเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จึงเห็นได้ว่า เหตุผลที่แท้จริงในการออกข้อกำหนดนี้มิได้เกี่ยวกับความจำเป็นที่จะทำให้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยุติลงโดยเร็ว หรือ เพื่อป้องกันมิให้การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวรุนแรงขึ้นตามเงื่อนไขของกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการโดยมีเหตุผลทางการเมืองแอบแฝงโดยมิได้คำนึงว่าการกระทำเช่นนี้ จะไปจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนอย่างไร
6. การแก้ไขปัญหาและต่อสู้กับโรคระบาดร้ายแรงเช่นนี้มีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจสถานการณ์และรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดอย่างรอบด้าน เพื่อให้ทั้งภาครัฐและประชาชนเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะสามารถเห็นถึงปัญหาและประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง ตรงกับสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น การระงับ ยับยั้ง หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อเท็จจริงด้วยการ ออกข้อกำหนดดังกล่าว นอกจากจะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบต่อการระดมความร่วมมือของประชาชนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาด้วย
พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีจะต้องออกข้อกำหนดนี้ และการออกข้อกำหนดก็ขัดต่อรัฐธรรมนูญและไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ พรรคจึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกข้อกำหนดฉบับนี้เสีย
จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน