นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงกรณีที่ นายณวัฒน์ อิสรไกรศีล ที่อยู่ระหว่างรักษาอาการโรคโควิด 19 ในสถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุมีแพทย์โทรมาบอกให้ย้ายออกจากโรงพยาบาล ไปรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ทั้งที่ตนยังไม่หาย ได้ยายังไม่ครบโดส แต่หมออ้างเปลี่ยนแผนการรักษาให้ไปรักษาที่บ้าน โดยให้อยู่โรงพยาบาลต่ออีก 24 ชั่วโมง นั้น ว่า สถานพยาบาลดังกล่าวชี้แจงเบื้องต้นส่วนของ นายณวัฒน์ ว่าทางโรงพยาบาลประเมินเป็นผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่อาการพ้นวิกฤต และมีอาการดีขึ้นอยู่ในระยะพักฟื้น (Step Down) ทางโรงพยาบาลจึงดำเนินการให้ผู้ป่วยไปพักฟื้นที่สถานพยาบาลชั่วคราว (Hospitel) หรือให้กลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่อง โดยวิธีกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ตามแนวทางการรักษาแบบ Step-down care ซึ่งจะทำได้โดยความสมัครใจของผู้ป่วย เพื่อจัดเตียงให้กับผู้ป่วยโควิด 19 รายอื่นซึ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้เตียงรักษาตัวในสถานพยาบาล และเมื่อผู้ป่วยเข้าพักที่ Hospitel หรือกลับไปที่พักที่บ้านแล้ว สถานพยาบาลเองจะมีการติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดทุกวันผ่านระบบ Video Call หรือ Teleconference มีอุปกรณ์วัดไข้และออกซิเจนส่งไปให้ มีช่องทางติดต่อกรณีฉุกเฉิน หากผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจะมีการรับตัวผู้ป่วยกลับไปรักษาที่สถานพยาบาลโดยทันที
ทั้งนี้ นายณวัฒน์ ครองเตียงผู้ป่วยเป็นเวลา 22 วันแล้ว ซึ่งแพทย์ประเมินแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ จึงมีการแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ แต่อาจจะด้วยการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าทางโรงพยาบาลให้ออกจากโรงพยาบาล ทั้งที่อยู่ระหว่างการรักษา ซึ่งแพทย์ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจแล้วว่าขั้นตอนดังกล่าวเป็นกระบวนการรักษาตามแนวทาง Step-down care ที่ใช้กับผู้ป่วยทุกราย ไม่ได้เลือกปฏิบัติเฉพาะแต่อย่างใด
นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและผู้เสียชีวิตในแต่ละวัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและญาติพี่น้อง รวมถึงประชาชนที่ติดตามข่าวสาร จึงอยากฝากให้บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลเอกชนทุกราย ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด 19 ดำเนินการด้วยความทุ่มเท เสียสละ ทั้งในด้านของการรักษาพยาบาล รวมถึงการสื่อสารกับผู้ป่วยหรือญาติจะต้องมีความชัดเจนถึงกระบวนการรักษา และมีการชี้แจงถึงความจำเป็นในกรณีที่ต้องให้ผู้ป่วยรักษาตัว ณ ที่พัก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความวิตกกังวล และขาดความเชื่อมั่นต่อระบบสาธารณสุข
ทั้งนี้ นายณวัฒน์ ครองเตียงผู้ป่วยเป็นเวลา 22 วันแล้ว ซึ่งแพทย์ประเมินแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ จึงมีการแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ แต่อาจจะด้วยการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าทางโรงพยาบาลให้ออกจากโรงพยาบาล ทั้งที่อยู่ระหว่างการรักษา ซึ่งแพทย์ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจแล้วว่าขั้นตอนดังกล่าวเป็นกระบวนการรักษาตามแนวทาง Step-down care ที่ใช้กับผู้ป่วยทุกราย ไม่ได้เลือกปฏิบัติเฉพาะแต่อย่างใด
นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและผู้เสียชีวิตในแต่ละวัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและญาติพี่น้อง รวมถึงประชาชนที่ติดตามข่าวสาร จึงอยากฝากให้บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลเอกชนทุกราย ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด 19 ดำเนินการด้วยความทุ่มเท เสียสละ ทั้งในด้านของการรักษาพยาบาล รวมถึงการสื่อสารกับผู้ป่วยหรือญาติจะต้องมีความชัดเจนถึงกระบวนการรักษา และมีการชี้แจงถึงความจำเป็นในกรณีที่ต้องให้ผู้ป่วยรักษาตัว ณ ที่พัก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความวิตกกังวล และขาดความเชื่อมั่นต่อระบบสาธารณสุข