น.พ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยวันนี้ (9 ก.ค.) ว่า พื้นที่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการจราจรหนาแน่น หรือมีมลพิษทางอากาศ ล้วนมีความเสี่ยงจากฝุ่นละออง ไอจากท่อไอเสีย ควันจากโรงงาน เพราะอาจทำให้เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและสารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลคือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน ที่จะปนเปื้อนกับน้ำฝนที่ตกลงมา เกิดเป็นภาวะฝนกรดคือ มีค่าพีเอชต่ำกว่า 5.6 ที่เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งก่อสร้างอย่างมาก รวมถึงพื้นที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกจังหวัดสมุทรปราการที่เกิดการระเบิด จนทำให้เพลิงไหม้โรงงานในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแม้การตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษจะพบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีมาก แต่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ยังต้องเฝ้าระวังและงดการรองน้ำฝนไว้ใช้ เพื่อความปลอดภัย
ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในครัวเรือน รอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2561-2563) พบว่า น้ำฝนผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภค กรมอนามัย พ.ศ. 2563 เฉลี่ยร้อยละ 17.4 ส่วนใหญ่มีปัญหาการปนเปื้อนแบคทีเรีย สี ความขุ่น และความเป็นกรด ด่าง ซึ่งเกิดจากการสุขาภิบาลน้ำบริโภคในครัวเรือนไม่ถูกสุขลักษณะ ตั้งแต่การรองรับน้ำฝน การเก็บกักน้ำฝน การดูแลรักษาความสะอาดของภาชนะบรรจุน้ำฝน จนถึงวิธีการนำมาใช้บริโภค
ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในครัวเรือน รอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2561-2563) พบว่า น้ำฝนผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภค กรมอนามัย พ.ศ. 2563 เฉลี่ยร้อยละ 17.4 ส่วนใหญ่มีปัญหาการปนเปื้อนแบคทีเรีย สี ความขุ่น และความเป็นกรด ด่าง ซึ่งเกิดจากการสุขาภิบาลน้ำบริโภคในครัวเรือนไม่ถูกสุขลักษณะ ตั้งแต่การรองรับน้ำฝน การเก็บกักน้ำฝน การดูแลรักษาความสะอาดของภาชนะบรรจุน้ำฝน จนถึงวิธีการนำมาใช้บริโภค