xs
xsm
sm
md
lg

สวนดุสิตโพลเผย ปชช.เกินครึ่งมองว่าการศึกษาไทยไม่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง นักเรียนทั่วประเทศ จำนวน 3,749 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน 2564 เรื่อง "หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียน กับการเรียนออนไลน์" หลังจากวันที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นวันเปิดภาคเรียนทั่วประเทศ แต่เนื่องจากยังอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถทำการเรียนการสอนแบบออนไซต์ได้ จึงต้องใช้วิธีการเรียนออนไลน์ ทำให้ทุกฝ่ายต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเรียนแบบออนไลน์ โดยการสำรวจสามารถสรุปผลได้ ดังนี้

1. จากที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เปิดเรียนวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ประชาชนคิดว่า ณ วันนี้ มีความพร้อมหรือไม่


ร้อยละ 51.35 ระบุ ไม่พร้อม
ร้อยละ 32.33 ระบุ พร้อม
ร้อยละ 16.32 ระบุ ไม่แน่ใจ

2. ประชาชนคิดว่าการศึกษาไทย ณ วันนี้ พร้อมที่จะเรียนออนไลน์หรือไม่

ร้อยละ 63.30 ระบุ ไม่พร้อม
ร้อยละ 21.31 ระบุ พร้อม
ร้อยละ 15.39 ระบุ ไม่แน่ใจ

3. สิ่งที่ "ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชนทั่วไป" กังวลเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์

3.1 ครู
ร้อยละ 77.18 ระบุ อุปกรณ์ไม่พร้อม อินเทอร์เน็ตช้า
ร้อยละ 69.74 ระบุ ผู้ปกครองไปทำงาน ไม่มีใครดูแลผู้เรียนที่บ้าน
ร้อยละ 67.31 ระบุ ผู้เรียนไม่เข้าใจ/เรียนไม่ทัน

3.2 ผู้ปกครอง
ร้อยละ 66.16 ระบุ ไม่มีสมาธิ ขาดความกระตือรือร้น
ร้อยละ 64.64 ระบุ ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ครูสอน
ร้อยละ 61.65 ระบุ ผู้เรียนได้ความรู้ไม่เต็มที่

3.3 นักเรียน
ร้อยละ 74.25 ระบุ เรียนไม่เข้าใจ เรียนไม่ทัน
ร้อยละ 63.47 ระบุ ไม่ได้พบเพื่อน ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
ร้อยละ 62.28 ระบุ ได้ความรู้ไม่เท่ากับเรียนในห้องเรียน

3.4 ประชาชนทั่วไป
ร้อยละ 65.80 ระบุ ไม่มีสมาธิในการเรียนเท่าที่ควร
ร้อยละ 61.92 ระบุ ไม่เข้าใจเนื้อหา เรียนไม่ทัน
ร้อยละ 60.26 ระบุ อุปกรณ์ไม่พร้อม เช่น แทบเล็ต อินเทอร์เน็ต

4. สิ่งที่อยากให้ภาครัฐ/สถานศึกษาช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์

อันดับ 1 ร้อยละ 62.22 ระบุ สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับเรียนออนไลน์
อันดับ 2 ร้อยละ 58.28 ระบุ มีส่วนลด/ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับผู้เรียน
อันดับ 3 ร้อยละ 55.80 ระบุ มีส่วนลดค่าบำรุงการศึกษา
อันดับ 4 ร้อยละ 50.30 ระบุ จัดการเรียนการสอนโดยเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียน
อันดับ 5 ร้อยละ 49.57 ระบุ มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเรียนออนไลน์

5. ประชาชนคิดว่าการเรียนออนไลน์จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาระดับชั้นใดมากที่สุด

ร้อยละ 35.57 ระบุ ระดับปฐมวัย
ร้อยละ 33.77 ระบุ ระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 23.51 ระบุ ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 7.15 ระบุ ระดับอุดมศึกษา

6. ประชาชนคิดว่าการเรียนออนไลน์จะทำให้คุณภาพการศึกษาไทยเป็นอย่างไร

ร้อยละ 68.52 ระบุ แย่ลง
ร้อยละ 25.40 ระบุ เหมือนเดิม
ร้อยละ 6.08 ระบุ ดีขึ้น