ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา ทยอยอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสัญญาณซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลง และทยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูล PMI และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค. กระตุ้นความกังวลของตลาดเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และหนุนให้บอนด์ยีลสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ฯปรับตัวขึ้น จนทำให้ปิดตลาดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ
สำหรับสัปดาห์หน้านั้น (7-11 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทอยู่ที่ 31.15-31.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์และแผนการกระจายวัคซีนต้านโควิด 19 ในประเทศ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดาและธนาคารกลางยุโรป ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/64 (final) ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจเดือนพ.ค.ของจีน อาทิ การส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภคดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวน
อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลง และทยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูล PMI และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค. กระตุ้นความกังวลของตลาดเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และหนุนให้บอนด์ยีลสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ฯปรับตัวขึ้น จนทำให้ปิดตลาดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ
สำหรับสัปดาห์หน้านั้น (7-11 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทอยู่ที่ 31.15-31.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์และแผนการกระจายวัคซีนต้านโควิด 19 ในประเทศ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดาและธนาคารกลางยุโรป ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/64 (final) ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจเดือนพ.ค.ของจีน อาทิ การส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภคดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวน