วันนี้ (5 มิ.ย.) นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก ส.ว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ถึงปัญหาของการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่เกิดขึ้นในหลายแห่งในโลก ใจความว่า
ปัญหาการผลิตวัคซีนAstra Zeneca เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก EU กำลังฟ้องบริษัท Astra ที่จัดส่งวัคซีนให้ไม่ทันตามสัญญา
ที่อินเดียบริษัท Serum Institute of India (SII) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตวัคซีนและผลิต Covishield (Astra Zeneca)ที่ใหญ่สุดในโลก ก็ขาดแคลนวัตถุดิบบวกกับความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นมากจากการระบาดใหญ่ แต่สถานการณ์ต่างกับประเทศไทยที่แม้จะมีสัญญาผลิตให้ไทย 61ล้านโดส ภายในสิ้นปีนี้ แต่ข้อตกลงมีให้ไทยเป็นแหล่งผลิตวัคซีนให้กับประเทศต่างๆในอาเซียนด้วย เพราะมีไทยเพียงแห่งเดียวที่เป็นแหล่งผลิตของอาเซียน
บริษัท Astra จ้าง บริษัท สยามไบโอไซน์ ผลิตวัคซีน Astra ซึ่งบริษัททำได้ตามเป้าหมาย เคยให้ข้อมูลกับ กมธ.สธ.วุฒิสภาว่า ศักยภาพการผลิตทำได้ถึง 180 ล้านโดสต่อปี หรือ 15 ล้านโดสต่อเดือน หรือ 5 แสนโดสต่อวัน แต่บริษัท สยามไบโอไซน์ ไม่ได้เป็นเจ้าของวัคซีน บริษัททำหน้าที่ผลิตอย่างเดียว ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ความชำนาญในการผลิตวัคซีนสำหรับอนาคตเท่านั้น
อำนาจในการจัดสรรวัคซีนให้ประเทศต่างๆ และลิขสิทธิเป็นอำนาจของบริษัท Astra ผู้เดียว ในขณะนี้ตัวเลขจาก Ourworldindata 2 มิถุนายน แม้กัมพูชาจะฉีดได้สัดส่วนสูงสุดของอาเซียน แต่ทุกประเทศยังห่างไกลเป้าหมาย Herd immunity อย่างมาก การจัดสรรวัคซีนให้ไทย คงต้องดูสถานการณ์ภายในประเทศเป็นหลัก และอาจต้องจัดสรรวัคซีนเผื่อให้กับเพื่อนอาเซียนด้วย เพราะยังพอมีส่วนเกินจากการผลิตเหลืออยู่ และต้องระวังปัญหาที่การผลิตอาจประสบอุปสรรคในอนาคตด้วย เพราะบริษัทเป็นหน้าใหม่ในการผลิตและเพิ่งผลิตเป็น Lot แรก แม้บริษัทจะมีแผนปัองกันความเสี่ยงอย่างดีแล้วก็ตาม จึงต้องมีวัคซีนอื่นๆสำรองให้พอกับความต้องการและช่วยป้องกันความเสี่ยงด้วยครับ
ปัญหาการผลิตวัคซีนAstra Zeneca เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก EU กำลังฟ้องบริษัท Astra ที่จัดส่งวัคซีนให้ไม่ทันตามสัญญา
ที่อินเดียบริษัท Serum Institute of India (SII) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตวัคซีนและผลิต Covishield (Astra Zeneca)ที่ใหญ่สุดในโลก ก็ขาดแคลนวัตถุดิบบวกกับความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นมากจากการระบาดใหญ่ แต่สถานการณ์ต่างกับประเทศไทยที่แม้จะมีสัญญาผลิตให้ไทย 61ล้านโดส ภายในสิ้นปีนี้ แต่ข้อตกลงมีให้ไทยเป็นแหล่งผลิตวัคซีนให้กับประเทศต่างๆในอาเซียนด้วย เพราะมีไทยเพียงแห่งเดียวที่เป็นแหล่งผลิตของอาเซียน
บริษัท Astra จ้าง บริษัท สยามไบโอไซน์ ผลิตวัคซีน Astra ซึ่งบริษัททำได้ตามเป้าหมาย เคยให้ข้อมูลกับ กมธ.สธ.วุฒิสภาว่า ศักยภาพการผลิตทำได้ถึง 180 ล้านโดสต่อปี หรือ 15 ล้านโดสต่อเดือน หรือ 5 แสนโดสต่อวัน แต่บริษัท สยามไบโอไซน์ ไม่ได้เป็นเจ้าของวัคซีน บริษัททำหน้าที่ผลิตอย่างเดียว ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ความชำนาญในการผลิตวัคซีนสำหรับอนาคตเท่านั้น
อำนาจในการจัดสรรวัคซีนให้ประเทศต่างๆ และลิขสิทธิเป็นอำนาจของบริษัท Astra ผู้เดียว ในขณะนี้ตัวเลขจาก Ourworldindata 2 มิถุนายน แม้กัมพูชาจะฉีดได้สัดส่วนสูงสุดของอาเซียน แต่ทุกประเทศยังห่างไกลเป้าหมาย Herd immunity อย่างมาก การจัดสรรวัคซีนให้ไทย คงต้องดูสถานการณ์ภายในประเทศเป็นหลัก และอาจต้องจัดสรรวัคซีนเผื่อให้กับเพื่อนอาเซียนด้วย เพราะยังพอมีส่วนเกินจากการผลิตเหลืออยู่ และต้องระวังปัญหาที่การผลิตอาจประสบอุปสรรคในอนาคตด้วย เพราะบริษัทเป็นหน้าใหม่ในการผลิตและเพิ่งผลิตเป็น Lot แรก แม้บริษัทจะมีแผนปัองกันความเสี่ยงอย่างดีแล้วก็ตาม จึงต้องมีวัคซีนอื่นๆสำรองให้พอกับความต้องการและช่วยป้องกันความเสี่ยงด้วยครับ