ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,248 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เรื่อง "สถานะของการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จุดไหนที่คนไทยพร้อม"
เมื่อถามว่า "ท่านอยู่ในสถานะใดของการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19" ประชาชนร้อยละ 47.2 จองคิวแล้วกำลังรอฉีด รองลงมา ร้อยละ 19.3 รอดูสถานการณ์วัคซีนทางเลือกมากกว่านี้ และร้อยละ 14.9 รอจองคิวลงทะเบียน ขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่คิดว่าจะฉีด
โดยเมื่อถามเหตุผลผู้ที่ไม่คิดจะฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.0 กังวล กลัวว่าจะแพ้วัคซีน รองลงมา ร้อยละ 30.4 กลัวเพราะมีโรคประจำตัว ร้อยละ 13.0 ไม่มีความเสี่ยงที่จะติดโควิด และร้อยละ 9.8 ได้รับข้อมูล ผลกระทบ และอาการแพ้ จากการฉีดวัคซีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูบ
ส่วนเหตุผลที่เลือกจะฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 อยากฉีดเพราะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและคนในสังคม รองลงมา ร้อยละ 58.8 กลัวติดโควิดเพราะสถานการณ์การระบาดเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 38.8 เชื่อหมอและบุคลากรทางการแพทย์พูดให้ข้อมูล
เมื่อถามว่า "หากท่านจะฉีดวัคซีน จะจองคิวลงทะเบียนผ่านช่องทางใด" ประชาชนร้อยละ 49.5 จะจองคิวลงทะเบียนที่ อสม. หรือโรงพยาบาลที่มีสิทธิรักษา รองลงมา ร้อยละ 34.5 จะจองคิวลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ภาครัฐเปิดให้ลงทะเบียน และร้อยละ 10.3 จะลงทะเบียนผ่านจุดฉีดวัคซีน หรือ on-site registration
สำหรับการรับทราบเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน พบว่า ในภาพรวมส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.0 ทราบข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน ขณะที่ร้อยละ 26.0 ไม่ทราบ โดยข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างรับทราบมากที่สุด คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวตก่อน (คิดเป็นร้อยละ 85.0) ส่วนข้อมูลที่รับทราบน้อยที่สุด คือ ไม่ควรกินยาลดไข้ แก้ปวด เพราะอาจบดบังการตอบสนองต่อวัคซีน (คิดเป็นร้อยละ 54.5)
เมื่อถามว่า "ท่านอยู่ในสถานะใดของการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19" ประชาชนร้อยละ 47.2 จองคิวแล้วกำลังรอฉีด รองลงมา ร้อยละ 19.3 รอดูสถานการณ์วัคซีนทางเลือกมากกว่านี้ และร้อยละ 14.9 รอจองคิวลงทะเบียน ขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่คิดว่าจะฉีด
โดยเมื่อถามเหตุผลผู้ที่ไม่คิดจะฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.0 กังวล กลัวว่าจะแพ้วัคซีน รองลงมา ร้อยละ 30.4 กลัวเพราะมีโรคประจำตัว ร้อยละ 13.0 ไม่มีความเสี่ยงที่จะติดโควิด และร้อยละ 9.8 ได้รับข้อมูล ผลกระทบ และอาการแพ้ จากการฉีดวัคซีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูบ
ส่วนเหตุผลที่เลือกจะฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 อยากฉีดเพราะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและคนในสังคม รองลงมา ร้อยละ 58.8 กลัวติดโควิดเพราะสถานการณ์การระบาดเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 38.8 เชื่อหมอและบุคลากรทางการแพทย์พูดให้ข้อมูล
เมื่อถามว่า "หากท่านจะฉีดวัคซีน จะจองคิวลงทะเบียนผ่านช่องทางใด" ประชาชนร้อยละ 49.5 จะจองคิวลงทะเบียนที่ อสม. หรือโรงพยาบาลที่มีสิทธิรักษา รองลงมา ร้อยละ 34.5 จะจองคิวลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ภาครัฐเปิดให้ลงทะเบียน และร้อยละ 10.3 จะลงทะเบียนผ่านจุดฉีดวัคซีน หรือ on-site registration
สำหรับการรับทราบเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน พบว่า ในภาพรวมส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.0 ทราบข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน ขณะที่ร้อยละ 26.0 ไม่ทราบ โดยข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างรับทราบมากที่สุด คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวตก่อน (คิดเป็นร้อยละ 85.0) ส่วนข้อมูลที่รับทราบน้อยที่สุด คือ ไม่ควรกินยาลดไข้ แก้ปวด เพราะอาจบดบังการตอบสนองต่อวัคซีน (คิดเป็นร้อยละ 54.5)