พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงถึงการปรับแผนฉีควัคซีนเป็นการเปลี่ยนกลับไปกลับมานั้น ยืนยันว่า แผนการฉีดวัคซีนไม่ได้กลับไปมา เพราะการจัดสรรวัคซีนทั่วโลกถือเป็นการอนุมัติฉุกเฉินโดยการรับรองขององค์การอนามัยโลก ปกติการจะอนุมัติวัคซีนออกมา บริษัทจะต้องผ่านการวิจัย 3-5 ปี ถือได้ว่าเป็นการใช้ในระยะฉุกเฉิน ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนเพื่อลดอัตราตาย และลดความรุนแรง เพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อ และนำไปสู่การเสียชีวิต
ส่วนประเทศไทยนั้น การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ ทุกคนในประเทศต้องเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 ดังนั้นหลักการของการกระจายวัคซีนในระยะแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม มีจำกัด มุ่งไปที่ประชากรที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง รุนแรงที่จะเสียชีวิต หากติดเชื้อ คือผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดพื้นที่สีแดง พื้นที่ระบาดรุนแรง จึงมีการเตรียมจัดหาวัคซีนให้กับประชาชน 50 ล้านคนคือ 100 ล้านโดส ฉีดเข็มที่หนึ่งให้แล้วเสร็จเดือนกันยายน และเข็มที่ 2 ให้ครบในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ปกป้องประเทศไทย
ส่วนประเทศไทยนั้น การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ ทุกคนในประเทศต้องเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 ดังนั้นหลักการของการกระจายวัคซีนในระยะแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม มีจำกัด มุ่งไปที่ประชากรที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง รุนแรงที่จะเสียชีวิต หากติดเชื้อ คือผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดพื้นที่สีแดง พื้นที่ระบาดรุนแรง จึงมีการเตรียมจัดหาวัคซีนให้กับประชาชน 50 ล้านคนคือ 100 ล้านโดส ฉีดเข็มที่หนึ่งให้แล้วเสร็จเดือนกันยายน และเข็มที่ 2 ให้ครบในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ปกป้องประเทศไทย