วันนี้ (16 พ.ค.) กรมราชทัณฑ์ ชี้แจงกรณี นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำกลุ่มราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าบิดาและมารดาติดเชื้อโควิด-19 จากตนที่ได้รับเชื้อมาจากในเรือนจำ โดยระบุว่า ผู้ต้องขังและนักโทษไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มากน้อยเพียงใดในเรือนจำ ซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จริงในหลายเรือนจำ แต่กรมราชทัณฑ์ยังคงดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดไว้
ส่วนกรณีของ นางสาวปนัสยานั้น กรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า ด้รับตัว นางสาวปนัสยา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 โดยควบคุมภายในห้องกักโรค ของแดนแรกรับ และได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยการ SWAB ครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ผลไม่พบการติดเชื้อ และทำการตรวจหาเชื้อครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 ผลไม่พบการติดเชื้อเช่นกัน จนกระทั่งวันที่ 26 เมษายน 2564 ได้อนุญาตให้นางสาวปนัสยา ลงจากห้องกักโรค (บนอาคารเรือนนอน) มาอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังอื่นภายในแดนแรกรับ จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 6 พฤษภาคม 2564
ทั้งนี้ ทัณฑสถานหญิงกลาง แบ่งการควบคุมเป็น 2 แดน คือ แดนแรกรับ ซึ่งเป็นแดนที่นางสาวปนัสยา ถูกควบคุมตัวอยู่มีผู้ต้องขังประมาณ 1,500 คน ได้ทำการตรวจคัดกรองผู้ต้องขัง 100% เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 ภายหลังจากนางสาวปนัสยาฯ ปล่อยตัวไป ไม่พบผู้ต้องขังแดนนี้ติดเชื้อ ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงผู้ต้องขังที่นอนห้องเดียวกันและใช้ชีวิตใกล้ชิดกับนางสาวปนัสยาฯ ตั้งแต่พ้นจากห้องกักโรค จำนวน 4 คน ไม่พบการติดเชื้อเช่นกัน
สำหรับอีกแดนหนึ่งคือ แดนผู้ต้องขังเด็ดขาดที่เกิดการระบาดของโรค ซึ่งมีผู้ต้องขังประมาณ 2,900 คน ทำการตรวจคัดกรองผู้ต้องขัง 100% พบผู้ต้องขังติดเชื้ออยู่ในแดนนี้ จำนวน 1,039 คน ตามที่ปรากฎเป็นข่าว และได้ย้ายผู้ต้องขังที่ติดเชื้อไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เรียบร้อยแล้ว จึงขอสร้างความเข้าใจต่อสังคมว่า กรมราชทัณฑ์ ไม่ได้มีนโยบาย หรือสั่งการให้ปิดบังข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถานแต่อย่างใด อีกทั้งยังได้มีหนังสือกำชับให้เรือนจำและทัณฑสถานปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
ส่วนกรณีของ นางสาวปนัสยานั้น กรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า ด้รับตัว นางสาวปนัสยา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 โดยควบคุมภายในห้องกักโรค ของแดนแรกรับ และได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยการ SWAB ครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ผลไม่พบการติดเชื้อ และทำการตรวจหาเชื้อครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 ผลไม่พบการติดเชื้อเช่นกัน จนกระทั่งวันที่ 26 เมษายน 2564 ได้อนุญาตให้นางสาวปนัสยา ลงจากห้องกักโรค (บนอาคารเรือนนอน) มาอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังอื่นภายในแดนแรกรับ จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 6 พฤษภาคม 2564
ทั้งนี้ ทัณฑสถานหญิงกลาง แบ่งการควบคุมเป็น 2 แดน คือ แดนแรกรับ ซึ่งเป็นแดนที่นางสาวปนัสยา ถูกควบคุมตัวอยู่มีผู้ต้องขังประมาณ 1,500 คน ได้ทำการตรวจคัดกรองผู้ต้องขัง 100% เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 ภายหลังจากนางสาวปนัสยาฯ ปล่อยตัวไป ไม่พบผู้ต้องขังแดนนี้ติดเชื้อ ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงผู้ต้องขังที่นอนห้องเดียวกันและใช้ชีวิตใกล้ชิดกับนางสาวปนัสยาฯ ตั้งแต่พ้นจากห้องกักโรค จำนวน 4 คน ไม่พบการติดเชื้อเช่นกัน
สำหรับอีกแดนหนึ่งคือ แดนผู้ต้องขังเด็ดขาดที่เกิดการระบาดของโรค ซึ่งมีผู้ต้องขังประมาณ 2,900 คน ทำการตรวจคัดกรองผู้ต้องขัง 100% พบผู้ต้องขังติดเชื้ออยู่ในแดนนี้ จำนวน 1,039 คน ตามที่ปรากฎเป็นข่าว และได้ย้ายผู้ต้องขังที่ติดเชื้อไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เรียบร้อยแล้ว จึงขอสร้างความเข้าใจต่อสังคมว่า กรมราชทัณฑ์ ไม่ได้มีนโยบาย หรือสั่งการให้ปิดบังข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถานแต่อย่างใด อีกทั้งยังได้มีหนังสือกำชับให้เรือนจำและทัณฑสถานปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด