นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงเรื่อง ส่องเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด ด้วยวัคซีน ว่า การประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในรอบการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ยังไม่รวมปัจจัยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 แต่มองว่าผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่รุนแรงเท่าระลอกแรก เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนยังสามารถดำเนินได้ ขณะเดียวกัน แม้สถานการณ์ระบาดล่าสุดยังมีความไม่แน่นอน แต่ระบบสาธารณสุขยังรองรับได้
อย่างไรก็ดี การระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและความเชื่อมั่น โดยจากข้อมูลเร็วกิจกรรมปรับลดลงเร็ว และความเชื่อมั่นภาคบริการกระทบเยอะ โดยจากการสำรวจพบว่าอัตราการเข้าพักในเดือนเมษายน 2564 ไม่ถึง 20% และในเดือนพฤษภาคม จะต่ำกว่า 10% และการระบาดระลอก 3 กระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศอยู่ที่ 1.4-1.7% ต่อจีดีพี ซึ่งสูงกว่าการระบาดระลอก 2 ที่อยู่ 1.2% ของจีดีพี ดังนั้น ผลกระทบจะขึ้นกับความยืดเยื้อ แต่เชื่อว่าผลต่อเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงเท่าระลอกแรก
ทั้งนี้ ปัจจัยการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยไทยออกจากวิกฤตด้านสาธารณสุข และการเปิดประเทศ โดยหากฉีดวัคซีนได้เร็วจะช่วยหนุนการเติบโตจีดีพีในปี 2564-2565 ขยายตัว 3.0-5.7%
อย่างไรก็ดี การระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและความเชื่อมั่น โดยจากข้อมูลเร็วกิจกรรมปรับลดลงเร็ว และความเชื่อมั่นภาคบริการกระทบเยอะ โดยจากการสำรวจพบว่าอัตราการเข้าพักในเดือนเมษายน 2564 ไม่ถึง 20% และในเดือนพฤษภาคม จะต่ำกว่า 10% และการระบาดระลอก 3 กระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศอยู่ที่ 1.4-1.7% ต่อจีดีพี ซึ่งสูงกว่าการระบาดระลอก 2 ที่อยู่ 1.2% ของจีดีพี ดังนั้น ผลกระทบจะขึ้นกับความยืดเยื้อ แต่เชื่อว่าผลต่อเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงเท่าระลอกแรก
ทั้งนี้ ปัจจัยการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยไทยออกจากวิกฤตด้านสาธารณสุข และการเปิดประเทศ โดยหากฉีดวัคซีนได้เร็วจะช่วยหนุนการเติบโตจีดีพีในปี 2564-2565 ขยายตัว 3.0-5.7%