นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ เงินเฟ้อเดือนเมษายน 2564 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนสูงก้าวกระโดดสูงสุดในรอบ 8 ปี ร้อยละ 3.41 หลังจากเดือนก่อนติดลบต่อเนื่องในรอบ 14 เดือน ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายน 64 เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด มาจากกลุ่มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นทำให้ราคาน้ำมันภายในประเทศปรับเพิ่มขึ้นมาหลายรอบ ประกอบกับกลุ่มอาหารสดทั้งสุกร ไก่ รวมถึงผัดสดชนิดต่างๆสูงขึ้นมาจากความต้องการบริโภคในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีวัดหยุดยาวมาก แม้จะไม่ได้มีเทศกาลสงกรานต์แต่คนส่วนใหญ่เดินทางกลับบ้านทำให้ความต้องการอาหารสดต่างๆปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ อีกเหตุผลที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนปรับสูงขึ้นมาก คือ หมดจากมาตรการภาครัฐโดยเฉพาะการขดเชยไฟฟ้า น้ำประปาเป็นต้น ดังนั้น ทิศทางเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 64 และในเดือนถัดๆไปจะต้องติดตามดูว่าภาครัฐจะออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนทั้งประเทศจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ละลอกที่ 3 นี้อย่างไร โดยเฉพาะการชดเชยค่าไฟฟ้า ประปา และอื่นๆหรือไม่และยาวนานแต่ไหน หากแนวทางชดเชยไม่ยาวนานทิศทางอัตราเงินเฟ้ออาจจะไม่สูงขึ้นมาก จึงต้องติดตามดูว่ามาตรการที่ภาครัฐจะออกมานั่นอย่างไร โดยคาดการณ์หากยังไม่มีมาตรการออกมาชดเชยจากภาครัฐในเดือนพฤษภาคมนี้ โอกาสอัตราเงินเฟ้ออาจจะสูงกว่านี้ แต่หากมีมาตรการออกมาเงินเฟ้อน่าจะบวกได้เพียงแค่ร้อยละ 1-1.5 เท่านั้น
นอกจากนี้ อีกเหตุผลที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนปรับสูงขึ้นมาก คือ หมดจากมาตรการภาครัฐโดยเฉพาะการขดเชยไฟฟ้า น้ำประปาเป็นต้น ดังนั้น ทิศทางเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 64 และในเดือนถัดๆไปจะต้องติดตามดูว่าภาครัฐจะออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนทั้งประเทศจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ละลอกที่ 3 นี้อย่างไร โดยเฉพาะการชดเชยค่าไฟฟ้า ประปา และอื่นๆหรือไม่และยาวนานแต่ไหน หากแนวทางชดเชยไม่ยาวนานทิศทางอัตราเงินเฟ้ออาจจะไม่สูงขึ้นมาก จึงต้องติดตามดูว่ามาตรการที่ภาครัฐจะออกมานั่นอย่างไร โดยคาดการณ์หากยังไม่มีมาตรการออกมาชดเชยจากภาครัฐในเดือนพฤษภาคมนี้ โอกาสอัตราเงินเฟ้ออาจจะสูงกว่านี้ แต่หากมีมาตรการออกมาเงินเฟ้อน่าจะบวกได้เพียงแค่ร้อยละ 1-1.5 เท่านั้น