เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564 มีเนื้อหาดังนี้
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นั้น โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อันเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล โดยในรอบนี้ผู้ติดโรคจะไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อยมากในระยะแรก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีความผ่อนคลายกับสถานการณ์การควบคุมโรคที่ดีขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยระมัดระวังป้องกันตัว อย่างในช่วงต้นของการระบาด จึงทำให้โรคแพร่กระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร มีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน และต่อระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมการระบาดของโรคให้เข้มข้นกว่าเดิม เพื่อมิให้เหตุการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทวีความร้ายแรงมากขึ้น และให้สามารถยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่โรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรค เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
ข้อ 2 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้
(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 6 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ที่จำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดอย่างยิ่งเพื่อให้การสกัดและยับยั้งการระบาดของโรคเป็นไปโดยรวดเร็วและเด็ดขาด
(2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม 45 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
(3) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม 26 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม
จังหวัดในเขตพื้นที่สถานการณ์ตาม (2) และ (3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายข้อกำหนดนี้
ข้อ 3 การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คนในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยเหตุยกเว้น วิธีการ และหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน (2) ของข้อ 1 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด กำหนดยกระดับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการขึ้นเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
(1) ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น โดยงดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 นาฬิกา
(2) สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้ปิดให้บริการ ยกเว้นการใช้สถานที่เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ส่วนสนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งสามารถเปีดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 นาฬิกา และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม สำหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีให้จัดการแข่งขันได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดแล้วให้สามารถจัดการแข่งขันได้ต่อไป
(3) สำหรับการเปิดดำเนินการของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน หรือสถานประกอบการอื่นในลักษณะคล้ายกัน ให้ดำเนินการได้ตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคเช่นเดียวกับมาตรการแบบควบคุมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
(4) การงดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อลดการเดินทางที่อาจเสี่ยงต่อการติดโรค
ข้อ 5 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม ให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ
ข้อ 6 การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อมุ่งลดจำนวนการเดินทางของเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบในการป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่และบุคลากรในความรับผิดชอบจะติดเชื้อ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่ในสถานที่ตั้ง การสลับวันเวลาทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นั้น โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อันเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล โดยในรอบนี้ผู้ติดโรคจะไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อยมากในระยะแรก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีความผ่อนคลายกับสถานการณ์การควบคุมโรคที่ดีขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยระมัดระวังป้องกันตัว อย่างในช่วงต้นของการระบาด จึงทำให้โรคแพร่กระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร มีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน และต่อระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมการระบาดของโรคให้เข้มข้นกว่าเดิม เพื่อมิให้เหตุการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทวีความร้ายแรงมากขึ้น และให้สามารถยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่โรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรค เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
ข้อ 2 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้
(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 6 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ที่จำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดอย่างยิ่งเพื่อให้การสกัดและยับยั้งการระบาดของโรคเป็นไปโดยรวดเร็วและเด็ดขาด
(2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่จังหวัด รวม 45 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
(3) พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัด รวม 26 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม
จังหวัดในเขตพื้นที่สถานการณ์ตาม (2) และ (3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายข้อกำหนดนี้
ข้อ 3 การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คนในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยเหตุยกเว้น วิธีการ และหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน (2) ของข้อ 1 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด กำหนดยกระดับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการขึ้นเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
(1) ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น โดยงดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 นาฬิกา
(2) สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้ปิดให้บริการ ยกเว้นการใช้สถานที่เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ส่วนสนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งสามารถเปีดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 นาฬิกา และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม สำหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีให้จัดการแข่งขันได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดแล้วให้สามารถจัดการแข่งขันได้ต่อไป
(3) สำหรับการเปิดดำเนินการของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน หรือสถานประกอบการอื่นในลักษณะคล้ายกัน ให้ดำเนินการได้ตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคเช่นเดียวกับมาตรการแบบควบคุมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
(4) การงดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อลดการเดินทางที่อาจเสี่ยงต่อการติดโรค
ข้อ 5 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม ให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ
ข้อ 6 การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อมุ่งลดจำนวนการเดินทางของเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบในการป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่และบุคลากรในความรับผิดชอบจะติดเชื้อ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่ในสถานที่ตั้ง การสลับวันเวลาทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป